top of page

พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์

พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิศิลปะเชียงแสน มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๙
นิ้ว สูง ๓.๕ นิ้ว

ประวัติการสร้าง

พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์องค์นี้ เป็นพระแก้วผลึกเนื้อบุษย์ขาวแท่งขนาดใหญ่ ไม่ปรากฏผู้สร้าง สืบรู้เพียงว่า มีผู้นำมาซ่อนไว้ในถํ้าเขาส้มป่อย แขวงเมืองนครจำปาสักข้างฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง มีพรานสองคน ชื่อพรานทึง พรานเทือง ไปเที่ยวยิงสัตว์ป่า และพบพระแก้วนี้จมอยู่ในนํ้า พรานทั้งสองเกรงว่าจะมีคนมาลักพระแก้ว จึงเอาเชือกผูกพระแก้วแขวนห้อยมากับคันหน้าไม้ เพื่อเก็บรักษาไว้ที่บ้าน ในเวลาที่เดินมานั้นแก้วตรงพระกรรณเบื้องขวากระทบคันหน้าไม้ลิไปหน่อยเวลา เมื่อทั้งสองออกล่าสัตว์จะเอาโลหิตแต้มเซ่นเป็นนิจมา ความลือไปถึงเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ผู้ครองนครจำปาสัก จึงทรงให้ท้าวเพียผู้ใหญ่ไปสืบเอาพระแก้วหยดนํ้าค้างกลับคืนมา ท้าวเพียได้ทำพิธีคารวะพระแก้วหยดนํ้าค้าง โดยขออัญเชิญไปประดิษฐานยังหลวงพระบางได้โดยสะดวกเมื่อได้พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ กลับคืนสู่หลวงพระบาง เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธชาวกูร จึงจัดการฉลองสมโภชอย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลาสามวันสามคืน

 

ตามข้อสันนิษฐานที่สืบทราบความว่า เมื่อครั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดี ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ เจ้าอุปราชบุตรของท้าวคำ ท้าวฝ่าย ท้าวสุวอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของเจ้าพระยาขัตติวงศา ได้เดินทางไปร่วมรบด้วย โดยมีท่านพระครูหลักคำกุผู้มีภูมิความรู้ถนัดในทางโหราศาสตร์ เป็นผู้ให้ฤกษ์และทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ซึ่งนับเป็นพิธีปฐมกรรมอันเป็นการให้ขวัญและกำลังใจแก่เหล่าทหาร จึงทำให้การรบในครั้งนั้นประสบชัยชนะ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงได้มีรับสั่งให้พาเข้าเฝ้าโดยด่วน โดยมีท้าวฝ่ายและพระครูหลักคำกุเป็นผู้เข้าเฝ้าเพื่อถวายพระแก้วหยดนํ้าค้าง ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้ท้าวฝ่าย เป็นพระสุนทรราชวงศา และพระครูหลักคำกุ เป็นพระครูวชิรปัญญา แล้วพระราชทานปืนนางป้อมหนึ่งกระบอกให้ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระแก้วหยดนํ้าค้างเพื่อเป็นบำเหน็จความชอบให้แก่พระสุนทรราชวงศา (สิงห์) เจ้าเมืองคนแรกของเมืองยโสธร ทั้งเพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ชาวเมืองยโสธร

คติความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ ปรากฏมีหลายชื่อคือ พระแก้วเพชรนํ้าค้าง พระแก้วหยดนํ้าค้าง หรือพระแก้วขาว ตามแต่ใครจะเรียก เป็นพระพุทธรูปเนื้อบุษย์ขาวที่ได้ชื่อว่างามไม่แพ้พระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดยโสธรนี้เป็นพระพุทธรูปที่ชาวเมืองยโสธรให้ความเคารพศรัทธามาก ในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ พุทธศาสนิกชนจะเดินทางไปสรงนํ้าสักการะพระแก้วหยดนํ้าค้าง เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเป็นจำนวนมาก

สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น | cac.kku.ac.th

  • Facebook B&W
  • Google+ B&W

@2023 by Samuel Glade | Landscape Architect | Proudly created with Wix.com

bottom of page