อุฮังคธาตุ หรือ อุฮังคนิทาน
เนื้อเฮื่อง
อุฮังคธาตุหรือตำนานพระธาตุพนม มีตำนานเว้าไว้ว่า ก่อนองค์พุทโธเจ้าเสด็จเข้าพระนิพพาน พระพุทธองค์ได้เสด็จมากับพระอานนท์แล้วหยุดอยู่ยั้งแคมหนองคันแท เสื้อน้ำ อันเป็นหม่องตั้งพระธาตุหลวงเมืองเวียงจันทร์ในซุมื้อนี้ พระพุทธองค์ได้แนมเห็นด้วย พระญาณจึงได้ทวยเฮื่องฮาวของขอกบ้านคาเมแถบนี้ออกเป็น 2 ประการ คือ ซ่วงเวลาฮ่วม สมัยกับพระเจ้าอโศกมหาราชของอินเดีย จักเป็นซ่วงก่อบ้านแปงเมืองเวียงจันทร์ขึ้นบ่อนนั้น พร้อมกับเฮื่องฮาวของพระอรหันต์ได้นำเอาพระธาตุส่วนต่างๆของพระองค์เจ้ามาสถิตย์ไว้บริเวณแถบนี้ ฮวมทั้งการก่อบ้านแปงเมืองออกซื่อว่า เมืองดอยนันทกังฮี (คือ เมืองหลวงพระบางในทุกวันนี้) โดยอิทธิฤทธิ์ของอมรฤาษี โยธิกฤาษี หลังจากหั่นกะเป็นคำทวยในซ่วงเวลาเลยไปทางหน้า แลพระพุทธองค์เจ้าจึงเสด็จย่างย้ายผ่านที่ทางหลายหม่อง ล่องลงใต้แคมแม่น้ำของ จากนั้นเลยเสด็จเข้าสู่ศรีโคตรบูรณแคว้น (ซ่วงอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ในทุกวันนี้) แล้วกะพำนักอยู่ดอยกัปปนคีรีหรือภูกำพร้า (ที่ตั้งพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในทุกวันนี้) พญาศรีโคตรบูรณมานิมนต์พระพุทธองค์เข้าไปรับบิณฑบาต ในข่วงเขตเมือง พญาศรีโคตรบูรณเลยมีโอกาสได้ถือบาตรพระพุทธองค์ไปส่งยังภูกำพร้า แล้วกะตั้งความปารถนาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ในคราวนี้พระพุทธองค์ได้ตรัสเว้าทวยอนาคตของพญาศรีโคตรบูรณให้แก่พระอานนท์ฟังว่า พญาตนนี้สิได้ไปเกิดอยู่ยั้งเมืองฮ้อยเอ็ดปากตูซาดหนึ่ง แล้วสิได้ไปเกิดเป็นพญาสุมิตตธรรมวงศา อยู่เมืองมฮุกขนครซาดหนึ่ง มาฮอดซาดนี้พญานั้นสิได้แปงธาตุสถูป เพื่อสิได้บรรจุอุฮังคธาตุ กระดูกหน้าอกของเฮาตถาคต เนายั้งอยู่ภูกำพร้านี้เอง จากนั่นองค์พระพุทโธเจ้าจึงเสด็จกลับ แล้วเข้าไปเมืองหนองหานหลวง (คือ จังหวัดสกลนคร) ทรงเทศนาธรรมโผด ผายพญาสุวรรณภิงคาร พญาตนนี้ได้ขอให้พระพุทธองค์ประทับฮอยพระพุทธบาทไว้เป็นที่ขาบไหว้บูซา เมื่อประทับฮอยพระพุทธบาทแล้ว จึงเสด็จไปสู่ดอยแห่งหนึ่ง เฮี้ยกเอิ้นพระมหากัสปปะ จากนครราชคฤห์ พอพระมหากัสปปะมาถึงจึงตรัสจาเว้าสั่งเสียไว้ว่า เมื่อเฮาตถาคตเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว ให้พระมหากัสสปะเอาอุฮังคธาตุของเฮาตถาคต มาสถิตเนายั้งอยู่ภูกำพร้าแห่งนี้ ตามฮอยพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆที่เคยปฏิบัติสืบมา แล้วพระพุทธองค์จึงเสด็จไปสู่ภูกูเวียน (ภูพานในเขตจังหวัดอุดรธานี ในทุกวันนี้)
แต่นั้น พระพุทธองค์จึงเสด็จไปสู่ดอยนันทกังฮี แล้วประทานฮอยพระพุทธบาทไว้ แล้วทวยถึงอนาคตกาลว่า ดินแดนขวงเขตแคมหนองคันแทเสื้อน้ำนั้น (ในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช) กาลล่วงไปก็จักสูญสลาย แลจักมีพญาตนหนึ่ง (เจ้าฟ้างุ้ม กษัตริย์ลาวล้านช้าง) มาทำนุบำฮุงพระพุทธศาสนาให้ฮุ่งเฮืองเหลืองเหลื่อมในขวงเขตนี้ (ที่ประทับอยู่ คือ เมืองหลวงพระบาง) ภายหน้าเมื่อขวงเขตคาเมนี้เสื่อมลง พระพุทธศาสนาก็จักกลับไปฮุ่งเฮืองยังขวงเขตเมืองหนองคันแทเสื้อน้ำแห่งนั้นแล (เมืองเวียงจันทร์) เมื่อทวยเถิงอนาคตดินแดน ขอกคาเมแถวนี้แล้วกะเลยเสด็จกลับพระเชตวันดังเดิม
พอแต่องค์พระพุทโธเจ้า เสด็จปรินิพพาน ล่วงไปได้ปีที 8 พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วยพระอรหันตาเจ้า 500 ได้พากันอัญเซิญพระอุฮังคธาตุของพระพุทธองค์มาสู่ภูกำพร้า ผ่านมาเมืองหนองหานหลวง พญาสุวรรณภิงคารกับพญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานหลวงกับเจ้าเมืองหนองหานน้อย ได้ออกมากราบไหว้ แล้วเกิดควมอยากได้พระอุฮังคธาตุไว้บูซาอยู่เมืองของตน จึงพากันก่อธาตุสถูปแข่งกันละหว่างผู้ซายกับแม่ญิง เพื่อสิได้เอาพระอุฮังคธาตุขององค์พระพุทโธเจ้ามาขาบไหว้ แม่ญิงใซ้มารยาล่อผู้ซาย ธาตุสถูปของแม่ญิงจึงสร้างสำเร็จก่อน ออกซื่อว่าธาตุนารายเจงเวง แต่พระมหากัสสปะห้ามไว้บ่ให้เอาพระอุฮังคธาตุไว้บ่อนนี้ ย้อนว่าองค์พระพุทโธเจ้าบ่ได้สั่งคมไว้ กะเลยให้พระอรหันต์เหาะหลบไปเอาพระอังคารธาตุมาให้ใส่ธาตุสถูปไว้บูซาแทน
บัดทีนี้ พระมหากัสสปะกะเลยพาพระอรหันตาซุองค์ ไปสู่ภูกำพร้า เจ้าพญาทั้งสองกะเลยตามพระเถระเจ้าทั้งหลายไปนำ พอมาฮอดแล้วเจ้าพญานันทเสนเมืองศรีโตรบูรณได้มาต้อนฮับขาบไหว้ พอข่าวการมาภูกำพร้าฮู้เถิงพญาจุลณีแลพญาอินทปัตฐ กะเลยพากันมาซ่อยพระเถระเจ้าปั้นอิฐ เผาดิน ก่ออูบมุงเพื่อสิได้ฮักษาพระอุฮังคธาตุของพระพุทธองค์ ตามที่เคยจาเว้าฝากควมกับพระมหากัสสปะไว้แต่เทื่อพุ้น พอแต่ก่ออูบมุง พระอุฮังคธาตุกะเลยแสดงปาฎิหาริย์ให้พระมหากัสปปะฮับฮู้เกี่ยวกับพระประสงค์แห่งองค์พุทโธเจ้า ห้ามบ่ให้มีการฐาปนา พอก่ออูบมุงแล้วจึงเอาพระอุฮังคธาตุเข้าไว้ในอูบมุงนั้นแล้วกะเอาปะตูไม้อัดไว้ เจ้าพญาทั้ง 5 กะเลยอธิษฐานขอให้สำเร็จอรหันตาขีนาสพในกาลเบื้องหน้า พอเจ้าพญาทั้ง 5 กลับบ้านเมือเมืองแล้วพระวิษณุกรรมกะเลยลงมาแกะสลักลายอูบมุง เหล่าเทวดาทั้งหลายกะเลยลงมาบูซาพระอุฮังคธาตุแล้วกะเลยแบ่งเวรกันมาเบิ่งแยงฮักฮาพระอุฮังคธาตุ
เว้าย้อนไปเถิงเจ้าพญาศรีโคตรบูรณ ที่ได้มีโอกาสถือบาตรของพระพุทธองค์เจ้า ว่า ในซ่วงเวลาหม่อกับพระพุทธองค์เจ้าเสด็จเข้าพระนิพพาน เจ้าพญาองค์นี้ได้สิ้นพระชนม์ มรณาม้วยแล้วกะเลยได้ไปเกิดเป็นโอรสเจ้าเมืองสาเกตุ ออกซื่อว่า สุริยะกุมาร
ส่วนทางเมืองศรีโคตรบูรณนั้น เจ้าพญานันทเสนผู้น้องหล่าเลยได้สืบเมืองต่อไป เจ้าเมืองสาเกตุนครนั้นออกซื่อว่า ศรีอมรนี ไปเป็นหมู่ ไปเที่ยวเล่นอยู่กับพญาโยธิกะแห่งเมืองกุรุนทะ กะเลยครองเมืองฮ่วมกัน ออกซื่อเมืองว่า ศรีอโยธยา ตามซื่อของเจ้าพญาทั้งสอง ต่อมาภายหลังเลยได้ออกบวชเป็นผ้าขาวมีอิทธิฤทธิ์หลาย เลยป๋าถิ่มเมืองสาเกตุไว้ พอแต่สุริยกุมารอายุได้ 16 ปี จั่งได้ครองเมืองสาเกตุสืบต่อมา พญาทั้งสองนั้นได้เที่ยวไปตีเมืองต่างๆ ได้ถึงฮ้อยเอ็ด(101) เมืองเลยเอามาอยู่ใต้อำนาจของสุริยกุมาร เมืองสาเกตุเลยได้มีซื่อเอิ้นอีกว่า "เมืองฮ้อยเอ็ดปากตู" สุริยะกุมารได้ทำนุบำฮุงพระศาสนาเป็นอย่างดี สุริยะกุมาร ได้บำฮุงพระพุทธศาสนาอยู่เมืองฮ้อยเอ็ดปากตู จนได้ซื่อว่า สุริยะวงศาธรรมิกราชาธิราชเอกราช พออายุได้ 18 ปี ในซ่วงที่มีการแปงอูบมุงประดิษฐานพระอุฮังคธาตุ (พญานันทเสนครองราชย์ได้ 18 ปี พระมหากัสสปะนำเอาพระอุฮังคธาตุมา ฉะนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาภูกำพร้าก่อนปรินิพพานอย่างน้อย 10 ปี)
ตัวละคร พญาศรีโคตรบูร ผู้ได้มีโอกาสถือบาตรของพระพุทธเจ้า พญานันทเสน พญาสุวรรณภิงคาร พญาคำแดง พญาอินทปัตฐ พญาจุฬณี ผู้สร้างปราสาทสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ต้นฉบับ อาชญาเจ้าพระอุปราชพร้อมด้วยบุตรภรรยาให้จำลองจากฉบับโบราณ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ เป็นหนังสือใบลานอักษรไทยที่เคยใช้ในแถบเหนือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมได้ฉบับนี้มาประทานไว้สำหรับหอสมุดแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๔ กรมศิลปากรให้นายสุด ศรีสมวงศ์ และนายทองดี ไชยชาติ เปรียญ ถ่ายออกจากสำนวนเดิม เรียบเรียงพอให้อ่านเข้าใจได้ทั่วไป มีข้อความแปลกและพิสดารกว่าฉบับที่เคยพิมพ์มาจึงให้ชื่อฉบับพิมพ์ครั้งนี้มา อุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม)
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี เรื่องอุรังคธาตุเป็นนิทานที่เล่าถึงตำนานพระธาตุพนม ตำนานเมือง ตำนานบุคคลต่าง ๆ ทั้งไทยและลาว ซึ่งพระธาตุพนมเป็นสถานที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวอีสาน และเป็นตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
องค์พุทโธเจ้าทวยเว้าแก่พระอานนท์เถิงอนาคตกาลของพญาศรีโคตรบูรณ ว่าพญาตนนั้นเคยไปอยู่เมืองฮ้อยเอ็ดปากตูซาดหนึ่ง แล้วสิได้ไปเกิดเป็นพญาสุมิตตธรรมวงศา อยู่เมืองมฮุกขนครซาดหนึ่ง มาฮอดซาดนี้สิได้แปงธาตุสถูป เพื่อสิได้บรรจุอุฮังคธาตุ กระดูกหน้าอกขององค์พุทโธเจ้า เนายั้งอยู่ภูกำพร้านี้เอง