top of page

สินไซ

เนื้อเฮื่อง

ดนมาแล้ว นครเป็งจาลมีพระราซาซื่อว่า พระยากุศราช พระยากุศราชมีน้องสาวหล่าซื่อว่า นางสุมณฑา นางสุมณฑามีฮูปหน้างาม ไทนครเป็งจาลกะมีความสุขซำบาย ว่าไปฮอดยักษ์ตนหนึ่งซื่อว่า ยักษ์กุมภัณฑ์ เป็นยักษ์ขาเลาะ มื่อหนึ่งยักษ์กุมภัณฑ์แปลงกายเป็นแมลงวัน บินออกไปเลาะจนมาฮอดเมืองเป็งจาล พัดว่าเห็นนางสุมณฑากะเกิดฮักแพงนางหลาย เลยหลอยเกี่ยนางเมือยังเมืองยักษ์นำ พระยากุศราชคันฮู้ว่าน้องสาวเจ้าของถืกยักษ์ลักโตไป กะเสียใจแล้วกะคึดฮอดน้องสาวหลาย จั่งตัดสินใจออกบวชนำหาโตน้องสาว พระยากุศราชคันออกท่องไปนำหม่องต่าง ๆ กะยังบ่พ้อน้องสาว จนมาฮอดบ้านเศรษฐีผู้หนึ่ง เศรษฐีมีลูกสาวทั้งเหมิด ๗ นาง  มีหน้าตางามซุคน คันพระยากุศราชมาเห็นกะเกิดมักลูกสาวเทิง ๗ ของเศรษฐี กะเลยเมือเมืองเป็งจาลลาสิกขา แล้วแต่งทหารไปขอลูกสาวเทิง ๗ ของเศรษฐี เศรษฐีดีเอิกดีใจกะยกนางเทิง ๗ ให้เป็นเมียพระยากุศราช เป็นอันว่าพระยากุศราชมีเมียตั้งว่า ๘ คน อยู่กินกันมาดนพระยากุศราชกะบ่มีลูกสืบสกุลจั๊กคน กะเลยให้เมียเทิง ๘ ไปขอลูกกับอินตาเทวราช คันอินตาเทวราชฮู้เรื่องกะให้เทวดาผู้มีบุญญาธิการลงมาเกิด เทวดาองค์แรกลงมาเกิดในท้องนางจันทา นางจันทาออกลูกเป็นสิงห์ ให้ซื่อว่า สีโห เทวดาอีก ๒ องค์ลงมาเกิดในท้องนางลุนผู้เป็นลูกสาวหล่าของเศรษฐี นางลุนออกลูกเป็นแฝด ผู้อิดออกมามีพระขรรค์ออกมานำ ให้ซื่อว่า สินไซ ผู้สองออกมาเป็นหอยสังข์กะตั้งซื่อว่า สังข์ทอง  ทางลูกสาวอีกหกคนของเศรษฐีออกลูกเป็นคนธรรมดาบ่อิทธิฤทธิ์หยังเลย เมียเทิงหกย่านว่าลูกซายนางจันทากับนางลุนสิหลื่น ได้ครองเมืองย้อนว่ามีอิทธิฤทธิ์ กะโฮมแฮงกันบังคับให้หมอทวยทูลพระยากุศราชว่าลูกเทิงสามของนางจันทากับนางลุนเป็นโตจังไฮบ้านจังไฮเมือง  พระยากุศราชคันฟังจั่งซั่นกะเซื่อคำเมียน้อย กะสั่งให้ทหารไล่นางจันทากับนางลุนเทิงลูกทั้งสามคนออกจากเมืองเป็งจาลไป คันเทวดาฮู้เรื่องเลยเนรมิตเฮียนน้อยให้อยู่กลางดง จนลูกทั้งสามใหญ่เป็นบ่าว ลูกชายทั้งหกของพระยากุศราชกะใหญ่เป็นบ่าวคือกัน พระยากุศราชกะยังคึดฮอดน้องสาวเจ้าของอยู่ จั่งสั่งให้ลูกซายเทิงหกของเจ้าของออกนำหาอาให้พ่อและพาเมือนครเป็งจาลพร้อม ท้าวทั้งหกท่องเข้าดงจนมาพ้อสินไซ สังข์ทอง กับสีโห เก้ากุมารฝอยกันไปเว้ากันมากะฮู้ว่าเป็นพี่น้องกัน เลยดีใจหลาย พากันวางแผนตั๋วให้สินไซไปนำหาอานำกัน สินไซ สังข์ทอง กับสีโห พร้อมกับท้าวทั้งหกกะท่องดงนำหาอา

สินไซ สังข์ทอง และสีโห บ่ย่านหยังย้อนว่ามีฤทธิ์เดช ท้าวทั้งหกย่านภัยอันตรายบักขนาดกะเลยย่างอยู่ทางหลัง ท่องเทื่อนี้ เทิงเก้าคนได้พ้อกับอันตรายต่าง ๆ หลายด่าน มีด่านงูซวง อันเป็นงูฮ้าย มีพิษอันตรายมหาศาล สินไซ สีโห และสังข์ทองกะสู้กับงูซวงจนซนะ ท้าวทั้งหกย่านแฮงจั่งพากันลี่อยู่ในป่า สินไซเหลือโตนเลยให้ท้าวทั้งหกถ่าอยู่นั่นแล้วให้สีโหอยู่เป็นหมู่ คันสินไซกับสังข์ทองท่องมาฮอดแม่น้ำ สังข์ทองกะแปลงโตเป็นเฮือให้สินไซข้ามแม่น้ำ สินไซย่างต่อไปอีก ไปพ้อกับยักษ์ป่า กะสู้กับยักษ์ป่าจนยักษ์ป่าตาย สินไซย่างต่อไปอีก ไปพ้อซ้างสี่โต สินไซกะสู้กับซ้างจนมีซัย สินไซย่างต่อไปอีก ไปพ้อต้นไม้ออกลูกเป็นแม่ญิงซื่อต้นมักกะลีผล สินไซกะสู้กับวิทยาธรเอานารีผลกันจนสินไซซนะ สินไซมักนารีผลกะเลยได้นางนารีผลเป็นเมีย สินไซอยากพ้ออาหลายกะย่างต่อไปอีก ไปพ้อกินรี สินไซมักนางกินรีกะได้นางกินรีเป็นเมีย แล้วกะออกท่องต่อไปอีก จนไปพ้อเมืองยักษ์ ยักษ์กุมภัณฑ์ออกไปหากินนอกเมือง สินไซกะไปบอกข่าวให้นางสุมณฑาฮู้แล้วเอิ้นเอานางสุมณฑาเมือเมืองเป็งจาล นางสุมณฑากะบ่อยากเมือย้อนว่ามาอยู่เมืองยักษ์ดนแล้ว นางกะมีใจฮักยักษ์กุมภัณฑ์ สินไซพยายามเว้าออยให้อาเมือนำ ค่อมว่าคันอาเมือนครพระยากุศราชสิอภัยให้แม่จันทากับแม่ลุนตามคำว่าท้าวทั้งหก พอดียักษ์กุมภัณฑ์มาฮอดกะพ้อสินไซ จั่งได้สู้กัน เทิงสองสู้ได้พอปันกัน บ่มีไผแพ้ซนะ สินไซกะนำสีโหให้มาซ่อย สีโหฮ้องเทื่อเดียวยักษ์กะหนหวย สีโหฮ้องต่อจนว่าหูยักษ์แตกตาย เป็นอันว่าเศิกเทื่อนี้สินไซซนะ นางสุมณฑากะเลยยอมเมือนครเป็งจาล คันว่าเมือมาฮอดเมือง นางสุมณฑาเว้าสู่พระยากุศราชฟังในเรื่องที่เกิดขึ้น พระยากุศราชกะเลยเอิ้นเอานางจันทากับนางลุนเข้าเมืองเป็งจาล คนในเมืองเป็งจาลกะอยู่อย่างมีความสุขตั้งแต่นั้นมา

ตัวละคร    สินไซ      เป็นผู้มีความกตัญญู กล้าหาญ เสียสละ มุ่งมั่น และมีปัญญาเป็นเลิศ

                      สังข์ทอง  สามารถแปลงกายได้  มีความกล้าหาญ

                      สีโห     หัวเป็นช้าง ลำตัวเป็นราชสีห์  มีพละกำลังมาก  มีเสียงเป็นอาวุธ

ต้นฉบับ   ต้นฉบับเรื่องสินไซนี้แพร่หลายมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพระเหตุว่าชอบอ่านกันในบุญงันเฮือนดี และในที่ประชุมชน ฉะนั้นจึงมีการอนุรักษ์เป็นอย่างดี กล่าวคือ มีการเก็บรักษาและพยายามคัดลอกต่อ ๆ มา ไม่ให้สูญหาย  ต้นฉบับใช้ประกอบการเขียนเรื่องนี้คือ ฉบับของกะซวงทัมกาน ประเทศลาว  ตรวจชำระโดยมหาสีลา วีรวงศ์ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ และฉบับของโครงการสำรวจรวบรวมวรรณคดีอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี ชำระโดยพระปริยัติโกศล (มหาถวัลย์) วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าคุณพระปริยัติโกศล พ.ศ.๒๕๑๙ จากคำนำฉบับปริยัติโกศล กล่าวไว้ว่าใช้ต้นฉบับใบลาน อักษรตัวธรรม ของนางทองมี บ้านอยู่ในเมืองอุบลฯ และต้นฉบับตัวอังษรไทน้อย  จากวัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งพระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) ได้ต้นฉบับไปจากจังหวัดอุบลฯ เช่นเดียวกัน ส่วนอีกสำนวนหนึ่งคือ ฉบับที่พระมหาปรีชา พิณทอง พิมพ์

พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี  คติธรรมที่แทรกอยู่ในเรื่องสินไซคือต้องการจะอธิบาย           วิมุติมรรค คือ ทางปฏิบัติไปสู่ความหลุดพ้น (กิเลส)

สินไซกล้า  กุมศาสตร์พระขรรค์ชัย            ไกวคมเปียง  ผ่าเผลียงเขาม้าง

ปางพุทโธเจ้า  เสวยชาติเป็นสินไซ            เอาธรรมะ  ผาบมารมลายเมี้ยน

สินไซท้าว   น้าวศาสตร์ลองศร                   เสียงศรพระ  ดั่งสิพาสะเมรุปิ้น

ครุฑอยู่ฟ้า  ดาเฝ้าฝั่งเฟือน                        นาคอยู่น้ำ  ทะยานขึ้นขาบพระองค์ พู้นแล้ว

bottom of page