top of page

ปลาแดก ปลาสมอ (ท้าวบุสบา)

เนื้อเฮื่อง

แต่บทบั้นพระโพธิสัตว์เสวยซาติเป็นท้าวบุสบา พออายุ 10 ปี กะเลยอ้อนวอนย่าไปซื้อเบ็ดตกปลามาให้ พอแต่ได้เบ็ดตกปลามาแล้วกะเลยหาปลาได้หลายโดยเฉพาะปลาสมอ หรือว่าปลาหมอ กะเอามาหมักเป็นปลาแดก ฝากนายสะเภา(สำเภา) ไปค้าขายอยู่เมืองพาราณสี พระอินทร์ผู้มีความเมตตากะเลยเนรมิตให้ปลาแดกที่มีกลิ่นเหม็นให้หอมหวลตลบอบอวลไปทั่วเมือง นายสะเภากะเลยเอาปลาแดกอันมีกลิ่นหอมไปถวามแก่พระราซาเมืองพาราณสี พระราซานั้นกะเลยหลอยเอาเงินคำก่ำแก้วใส่ในไหปลาแดกแล้วกะเลยเอาปลาแดกเทไว้คือเก่า ฝากไปให้เป็นของกำนันท้าวบุสบา ท้าวบุสบาว่าปลาแดกคือเก่ากะเลยบ่สนใจ บ่ได้เปิดเบิ่งเอาวางไว้สื่อๆ ใซ้ซีวิตอยู่อย่างยากจน ต่อมากะเลยฝากไหปลากแดกที่มีทองคำให้พ่อค้าเอาไปขายเมืองราชคฤห์ พ่อค้ากะเลยเอาไปถวายบรรณาธิการแก่พระราซาเมืองราซคฤห์ พอแต่พระราซาเปิดเบิ่งไหปลาแดกเห็นเงินคำก่ำแก้ว เพชรนิลจินดาหลวงหลาย กะเลยให้โหรหลวงเบิ่งมอทวยว่าดวงซาตาของเจ้าของไหปลาแดกนี่  โหนหลวงเบิ่งมอแล้ว เลยทวยว่าท้าวบุสบาผู้เจ้าของไหปลาแดกนี่เป็นผู้มีบุญญาบารมีหลาย  พระราซากรุงราซคฤห์กะเลยส่งพระธิดา คือ นางมาตฟ้า ที่โหรหลวงทวยว่าเป็นเนื้อคู่สายแนนเกี่ยวกัน มาเป็นของกำนัลส่งหลบไปหาท้าวบุสบา พระราซาเอานางมาตฟ้าใส่โพรงงานซ้างทิพย์ไปให้ท้าวบุสบา พอแต่ท้าวบุสบาได้งานซ้างทิพย์กะเลยเอาไปไว้อยู่นอกเมือง นางมาตฟ้าเลยออกจากโพรงงาซ้างมาเนรมิตให้เฮือนซานของท้าวบุสบาดีกว่าเก่า พร้อมกับอยู่กินกันเป็นผัวเมีย ท้าวบุสบาได้เมียงามเลยฮู้ไปฮอดหูของพระเจ้าพรหมทัตอยากได้นางมาตฟ้ามาเป็นมเหสีของจะของ กะเลยใซ้ให้ท้าวบุสบาเอาของไปส่งญาติพี่น้องอยู่ซั้นฟ้าแลเมืองนาฮก(นรก) ท้าวบุสบาเฮ็ดได้ พระเจ้าพรหมทัตกะเลยคึดอยากเฮ็ดได้นำ ท้าวบุสบากะเลยบอกให้เอาไฟเผาจะของ พระเจ้าพรหมทัตเฮ็ดนำความว่าของท้าวบุสบา กะเลยตายถิ่มเสีย ท้าวบุสบากะเลยได้ขึ้นตั่งนั่งครองเมือง เป็นกษัตริย์สืบต่อมา

ตัวละคร   ท้าวบุสบา  ผู้มีบุญญาธิการ  ขยันขันแข็ง และมีปัญญา

                     ท้าวพรหมทัต  เป็นกษัตริย์ที่โง่เขลา เชื่อคำที่คนอื่นบอกจนทำให้ตัวเองถึงแก่ชีวิต

 

ต้นฉบับ     ต้นฉบับอักษรธรรม อยู่ที่วัดม่วงสามสิบ อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

                      ต้นฉบับลำบุสบา อยู่ที่วัดบ้านโด ต.ท่าตูม อ.มือง จ.มหาสารคาม

                      ฉบับที่ถอดความและเรียบเรียงเพื่อให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจง่าย และทำเป็นสื่อการเรียนการสอน ชื่อหนังสือ “วรรณกรรมท้องถิ่น” ของ อ. ธวัช ปุณโณทก 

พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี    วรรณกรรมเรื่องนี้สอนคติธรรมเรื่องโทษของการหมกมุ่นในกามคุณ คือตอนที่ท้าวพรหมทัตอยากได้นางมาตฟ้าเป็นมเหสีจนขาดสติ คิดชื่อตามคำที่ท้าวบุสบาแนะนำจนตัวเองตาย

            ให้พากันเฮียนฮู้ปาณาติบาต          เว้นจากการฆ่าสัตว์โดยฮ้ายหมายได้จ่องเวร

  บาปนั้นมีโทษมากน้อยตามแต่กระบวนคุณ   สัตว์นั้นมีคุณดังงัวควายซ้าง

  มันทำนาให้ทังเกวียนลากแก่                        มันมีคุณเที่ยงแท้คนได้เบิ่งแยง

  กินคุณแล้วสังเล่ากินซิ้นต่อน                        บ่กูร์ณาท่อกก้อยสังกินชิ้นบ่ล่ำคอย

bottom of page