พระยาคันคาก
เนื้อเฮื่อง
เจ้าเมืองอินทะปัตถนครมีพระโอรสผิวเหลืองปานคำ แต่เป็นตุ่มตูดปูดตีดปีดคือจั่ง ขี่คันคาก จั่งได้พระนามว่า ท้าวคันคาก พอท้าวคันคากใหญ่เป็นบ่าวกะอยากได้นางเทวีผู้งามเป็นเมีย พระราชบิดากะพยายามออย ย้อนว่าเจ้าของนั้นฮูปชั่วตัวดำ แต่ท้าวคันคากกะบ่ละความพยายาม จนสุดท้ายท้าวคันคากได้อธิษฐานว่า คัว่าข้าน้อยมีบุญบารมีแต่ชาติเก่าปางหลัง ขอให้ได้หญิงงามมาเป็นเมียตามต้องการ ฮ้อนฮอดพระอินทร์ ได้มาซ่อยเนรมิตผาสาทให้ พร้อมทั้งนำนางแก้วเทวีมาให้เป็นเมียอีกพร้อม แต่เห็นว่าท้าวคันคากนั้นมีรูปร่างอัปลักษณ์ ท้าวคันคากจั่งได้แปลงฮูปเป็นหนุ่มฮูปงาม ทั้งสองได้อาศัยอยู่ผาสารทอินทร์แปลง(เนรมิต) งามปานไพชยนต์ผาสาท พระเจ้าอินทะปัตถนครฮู้เรื่องกะดีใจ เห็นว่าพระราชโอรสหมดเวรหมดกรรมแล้ว ได้เวนราชสมบัติให้ครอบครองเมือง พอแต่อภิเษกแล้วพระยาคันคากกะครองเมือง ซ่อยเหลือชาวเมืองที่ทุกข์ยากปากหมอง ปกครองบ้านเมืองอย่างดี จนเฮ็ดให้ชาวเมืองศรัทธาเลื่อมใสพระยาคันคาก จนลืมบูชาพระยาแถน ฝ่ายพระยาแถนเห็นจั่งซั่นแล้วกะบ่พอใจ ย้อนเห็นว่าท้าวคักคากมีอิทธิฤทธิ์หลาย ย่านว่าสิเป็นภัยต่อเจ้าของ จั่งได้หาอุบายแกล้งบ่ให้ฝนตกลงโลกมนุษย์ โดยการบ่เปิดประตูสระหลวง เฮ็ดให้พญานาคบ่ได้เล่นน้ำ เกิดความเดือดร้อนไปทั่วพื้นพิภพ ท้าวคันคากได้สู้รบกับพระยาแถน การต่อสู้เทื่อนี้ถือเป็นมหายุทธ ใช้เวลาดนแต่กะบ่มีผู้แพ้ชนะ พระยาคันคากวางแผนให้พญานาคไปขดอยู่หางช้างเพื่อหลอยเข้าจู่โจมพระยาแถน พอแต่ช้างฟาดหางแฮง ๆ พญานาคที่ขดตัวอยู่กะฟ่งออกไปฮัดโตพระยาแถนจนตกจากหลังช้าง แล้วเกี้ยวพระยาแถนไว้บักอย่างแน่นหนาบ่สามารถดิ้นหลุดไปได้ จนพระยาแถนขอยอมแพ้ท้าวคันคาก หลังการสู้รบได้เซาลง ท้าวคันคากได้จัดให้มีการประชุมเจรจาตกลงกับพระยาแถน โดยขอให้พระยาแถนเปิดป่องให้พญานาคขึ้นไปเล่นน้ำคือเก่า ทั้งต้องกลับไปเบิ่งแงงทุกข์สุขให้กับพวกมนุษย์คือจั่งเคยเฮ็ดมา จากนั้นที่ประชุมกะเริ่มเว่าถึงกำหนดระยะเวลาการเปิดป่อง การเปิดป่องทั้ง ๗ ป่องได้ตลอดเวลานั้น พญานาคสามารถขึ้นไปเล่นน้ำได้ตามความพอใจของตน แล้วฝนกะสิตกตามการเล่นน้ำของพญานาค บางเทื่อมนุษย์ยังบ่อยากได้น้ำฝน พอฝนตกก็สิสร้างความเดือดร้อนให้สู่คน ย้อนว่ามีน้ำหลายโพด ฝ่ายพระยาแถนคิดเบิ่งอยาคราวหนึ่ง จั่งเอ่ยถามที่ประชุมว่า “แล้วสิฮู้ได้จั่งได๋ว่ายามได๋ต้องเปิดป่องเพื่อให้พญานาคขึ้นมาเล่นน้ำ” ท้าวคันคากเลยบอกว่า “เอาจั่งซี่เด้อ พอแต่ฮอดเดือนหกยามเฮ็ดนา พวกมนุษย์อยากได้น้ำฝนเพื่อเฮ็ดนา ท่านกะให้ฝนตกลงมาในยามนี้ คันมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นฟ้าเพื่อเป็นสัญญาณแล้ว ให้ท่านเปิดป่องได้” พญาแถนถามต่อไปว่า “แล้วข่อยสิฮู้ได้จั่งได๋ว่ามีพญานาคขึ้นมาเล่นน้ำแล้ว คันเปิดป่องแต่พญานาคบ่ได้ขึ้นมาเล่นน้ำ ฝนกะสิบ่ตก” ท้าวคันคากตอบว่า “คันฝนตก กบเขียดสิพากันออกมาเล่นน้ำ ส่งเสียงฮ้องไปทั่ว คันท่านได้ยินเสียงกบเขียดมันฮ้อง แสดงว่าฝนได้ตกลงเมืองมนุษย์แล้ว” แต่พระยาแถนกะถามต่ออีกว่า “คันมนุษย์ใช้น้ำฝนพอแล้ว หรืออยากให้ปิดปากป่อง ข่อยสิฮู้ได้จั่งได๋ล่ะ” ท้าวคันคากตอบว่า “ท่านไม่ต้องห่วงดอก คันมนุษย์ได้น้ำพอแล้ว สิส่งสัญญาณขึ้นมาบอกท่าน โดยพวกเขาสิเฮ็ดโหวดขึ้นมาพร้อม ๆ กัน แล้วแกว่งโหวดขึ้นฟ้าส่งเสียงเป็นสัญญาณให้ท่านรู้ว่าได้น้ำพอแล้ว ให้ปิดปากป่องได้” พอแต่ทุกฝ่ายบรรลุข้อตกลงร่วมกันแล้ว ท้าวคันคากกะสั่งให้พญานาคจัดเวรกันขึ้นมาเล่นน้ำทุกปีอย่าได้ขาด จากนั้นกองทัพของท้าวคันคากกะกลับลงมายังโลกมนุษย์ แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาลนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ตัวละคร พระยาคันคาก เป็นผู้มีปัญญา สามารถใช้ปัญญาปกครองบ้านเมืองให้มีความรุ่งเรืองและสงบสุข
ต้นฉบับ มีปรากฏอยู่ทั่วไปเกือบทุกวัดในภาคอีสาน เพราะว่ายังใช้เทศน์ในพิธีกรรม (ขอฝน) เนื่องจากมีความเชื่อว่าฝนไม่ตกตามฤดูกาลนั้น เป็นเพราะพระยาแถนไม่ยอมส่งฝนมาตก พระยาคันคากและสัตว์ทั้งหลายไปปราบพระยาแถน พระยาแถนจึงส่งฝนลงมาตกตามปกติ ชาวบ้านชาวเมืองจึงมีน้ำใช้ในการเกษตรกันทั่วหน้า ฉะนั้นจากความเชื่ออันนี้เอง เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวบ้านจึงร่วมกันจัดพิธีกรรมขอฝน เรียกว่า ประเพณีบุญเดือน ๖ หรือบุญบั้งไฟ นิทานพระยาคันคาก (คำกลอนสำนวนภาคอีสาน) เรียบเรียงโดย เตชวโรภิกขุ (อินตา กวีวงศ์) พิมพ์และจำหน่ายที่ บริษัท ขอนแก่นคลังนานาธรรม จำกัด
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี วรรณกรรมเรื่องพระยาคันคากนี้ มีหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาสอดแทรกอยู่ในตัวละคร พระยาคันคากเป็นผู้ที่มีปัญญา ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้เป็นราชา นอกจากนั้นยังมีคติความเชื่อเรื่องการขอฝนจากพระยาแถน และเป็นที่มาของประเพณีบุญเดือน ๖ซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณี ๑๒ เดือน
มันสิเป็นไม้ไผ่บ้านเกิดใหม่หงำกอ
สิเป็นช้างลื่นขอให้หมั่นเลิงหารภายหน้า
ให้ลูกดอมตนไว้คือไถนาอย่าฮวมร่อง
ควายสิลื่นแอกน้อยไถสิล่มบ่เสมอ