พระมโหสถ
เนื้อเฮื่อง
พระมโหสถเป็นพระโพธิสัตว์ ชาติที่ ๕ ในพระเจ้าสิบชาติก่อนที่สิมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บำเพ็ญเพียรสร้างปัญญาบารมี ซ่อยเหลือคน อันว่าปัญญานี้มีค่าหลายกว่าเงินคำกำแก้วเป็นแสนล้าน
ตั้งแต่อตีตาชาติพุ้น พระพุทธเจ้าของเฮาไปเกิดเป็นลูกของเสรษฐีมีเงินสิริวัฒกะกับนางสุมนาเทวี อาศัยอยู่บ้านปาจีนวยมัชคาม ทิศตะเว็นออกมิถิลานคร แคว้นวิเทหะ ตอนนี่คลอดออกมานั้นได้ถือแท่งยาออกมานำ เลยได้ซื่อว่า มโหสถ พอแต่ฝนท่อนยานี้ทาหน้าผากเศรษฐีโรคปวดหัวอยู่สู่มื้อกะเซา เศรษฐีกะได้แจกจ่ายยาให้คนเอาไปกินจนคนฮู้จักกันไปทั่ว มโหสถอายุได้ ๗ ปี ได้สร้างศาลาใหญ่ไว้กลางหมู่บ้าน พอได้เป็นหม่องเซาพักของคนเดินทาง แล้วยังใช้เป็นหม่องตัดสินคดีทั้งหลายได้อย่างฉลากล้ำลื่นคน จั่งคดีลักงัว มโหสถให้งัวกินน้ำตำใบประยงค์ งัวกะฮากออกมา ผู้เป็นเจ้าของงัวสิบอกแนวกินของงัวได้ถืก อีกคดีหนึ่งกะคือผู้หญิงสองคนแย่งลูกกัน มโหสถให้หญิงทังสองดึงแขนของเด็กน้อยเพื่อสิแยงกัน แล้วตัดสินให้ผู้ที่ปล่อยแขนเป้นแม่อีหลีของเด็กน้อย ย้อนว่าผู้หญิงที่ปล่อยมือเด็กน้อยนั้นลิโตน บ่อยากให้ลูกจักของเจ็บโต แสดงว่าเป็นแม่อีหลีของเด็กน้อย
พระเจ้าวิเทหราชเจ้าผู้นั่งเมืองมิถิลา เอาไม้ตะเคียนกลึงยาวคืบหนึ่งให้หาว่าทางได้กกทางได๋ปลาย หวังสิทดสอบปัญญาของมโหสถ มโหสถกะเอาเชือกผูกกลางท่อนแล้วหย่อนลงในน้ำ ทางกกสิจมก่อน สามารถตอบปัญหาของพระเจ้าวิเทหะได้ เลยมีรับสั่งให้เข้าไปหา พระเจ้าวิเทหะเชื่อว่าบิดามารดาจั่งได๋กะต้องดีกว่าลูกแน่นอน มโหสถได้เว้าเรื่องลาออกลูกเป็นม้าอัสดร เพื่อบอกว่าบิดามารดากะบ่ได้ดีกว่าบุตรเสมอไป พระเจ้าวิเทหะพอใจหลาย เลยให้มโหสถเข้ารับราชการ เป็นผู้ที่พระเจ้าวิเทหะกับพระนางอุทุมพรพอพระทัยหลาย
มโหสถอายุได้ ๑๖ ปี ได้ออกเที่ยวหาคู่ครอง เหลียวเห็นผู้สาวลูกชาวนาผู้หนึ่ง อยู่หมู่บ้านอุตตรวยมัชคาม ทางทิศเหนือของเมืองมิถิลา ซื่อว่า อมรกุมารี ฮูปงามทั้งฉลาด มโหสถได้ลองทดสอบเบิ่งแล้วจั่งได้เอามาเป็นเมีย ในตอนที่ยังเป็นข้าราชการอยู่
ปุโรหิต ๕ คน มีเสนกะ ปุกุ กุสะ เทวินท์ กับกามินท์ มีความอิจฉาริษยามโหสถพยายามใส่ความว่ามโหสนี่เป็นกบฏอยู่หลายเทื่อ จนมโหสถได้หนีไปอยู่กับช่างปั้นหม้อทางทิศใต้กรุงมิถิลา เทพประจำเมืองได้เข้ามาซ่อย โดยที่เข้าไปถามปัญหาพระเจ้าวิเทหะ ปุโรหิตทั้ง ๕ คน ตบคำถามบ่ได้ กะเลยได้ไปนำมโหสถมาตอบ พระเจ้าวิเทหะแฮ่งพอใจหลายกว่าเก่า ได้มอบหมายให้เฮ็ดราชกิจต่างประเทศแทนพระองค์ ปกครองกรุงวิเทหิให้ฮุ่งเฮือง แล้วกะได้เฮ็ดหน้าที่สั่งสอนธรรมะพระองค์พร้อม ในประเทศเขตแคว้นแดนชมพูทวีปมีกษัตริย์ปกบ้านครองเมืองอยู่ ๑๐๑ พระองค์ กษัตริย์พระองค์หนึ่งซื่อว่า พระเจ้าจุลลนีคิดการใหญ่มีเกวัฏฏะเป้นผู้ให้คำปรึกษา พระเจ้าจุลลนียกทัพเข้ายึดเมืองทั้งหลายไว้ได้ ยังแต่วิเทหะเมืองสุดท้าย มโหสถได้วางแผนป้องกันเมือง ต่อมาได้ตีทัพพระเจ้าจุลลนีจนพ่ายไป มโหสถเฮ็ดให้พระเจ้าจุลลนียกพระธิดานามว่า ปัญจาลจันที ให้เป็นมเหสีของพระเจ้าวิเทหราช พอแต่พระเจ้าวิเทหะสวรรคตแล้ว มโหสถได้อภิเษกพระโอรสอีกองค์ครองราชย์ต่อ แล้วจั่งได้ขอลาไปรับราชการกับพระเจ้าจุลลนีอยู่เมืองอุตตรปัญจาลนครตามคำขอร้องพระเจ้าจุลลนี แต่นั้นกะอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป
ตัวละคร พระมโหสถ ผู้ที่มีปัญญายิ่งนัก สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นานาให้กับบ้านเมืองได้
ต้นฉบับ จารุมุกด์ เรืองสุวรรณ ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่เป็นภาษาไทยกลาง เพื่อให้ผู้อ่านอ่านเข้าใจง่าย ลงพิมพ์ใน “หนังสือพิมพ์ขอนแก่น” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยมมากจากผู้อ่านมาแล้วแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ชาดกเรื่องนี้ให้คติว่าปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ คนมีปัญญาย่อมหาทรัพย์ได้และรักษาไว้ได้ด้วย ส่วนคนที่ไม่มีปัญญาแม้จะมีทรัพย์ก็ยากที่จะรักษาทรัพย์ไว้ได้
พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพระมโหสถ ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี
ปัญญาบารมี คือ บารมีในการมีจิตพร้อมที่ใช้ปัญญารักษาธนสารสมบัติ บุตร ภรรยา และชีวิต รวมไปถึงการละความชั่ว ประพฤติดี ทำจิตใจให้ผ่องใส แม้ประสบภัยพิบัติอยู่เฉพาะหน้าก็สามารถใช้ปัญญาแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเที่ยงธรรม