เสียวสวาด
เนื้อเฮื่อง
เมืองพาราณสี มีเศรษฐีสองผีวเมีย มีลูกชาย ๒ คน ผู้อ้ายชื่อศรีเฉลียว ผู้น้องชื่อเสียวสวาด ลูกชายทั้งสองคนใหญ่เป็นบ่าว ท่านเศรษฐีได้แบ่งเฮือนให้คนละหลัง เสียวสวาดผู้เป็นน้องเลือกเอาหลังสร้างยังบ่แล้ว ฝ่ายศรีเฉลียวเลือกเฮือนหลังสร้างแล้วแล้ว พ่อแม่จั่งได้ทำนายว่า ลูกชายหล่าคือเสียวสวาดเป็นคนที่มีปัญญาสิประสบความสำเร็จในชีวิต ท่านเศรษฐีได้อบรมสั่งสอนลูกชายทั้งสองคนให้ปฏิบัติตนอยู่ในจารีตประเพณีและศีลธรรมที่ดีงาม จนต่อมาพ่อแม่ได้ตายจากไป ลูกชายทั้งสองได้เฮ็ดตามคำสั่งสอนของพ่อแม่อย่างดีตลอดมา มื้อหนึ่งมีเฮือสำเภาต่างเมืองมาจอดเซาอยู่ท่าน้ำเมืองพาราณสี เสียวสวาดได้ขอเดินทางไปค้าขายนำ นายสำเภาได้รับเสียวสวาดไว้เป็นลูกเฮือ เสียวสวาดดีใจหลายจั่งได้ลาญาติพี่น้องเพื่อนฝูงแล้วออกเดินทางไปกับเฮือสำเภานั้น นายสำเภาได้ให้ความรัก ความเมตตาต่อเสียวสวาดปานลูกเจ้าของเอง พอแต่ออกเดินทาง เฮือสิแล่นผ่านหมู่บ้าน ผ่านเมือง ผ่านป่า วัดวาอาราม หาดทราย พอได้เวลานายสำเภากะสั่งให้เรือจอดเซาพัก ระหว่างนั้นล่ะ เสียวสวาดได้ถามนายเฮือเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เฮือแล่นผ่านมา จั่งถามว่า หมู่บ้านเหล่านี้มีคนอยู่บ่ ในเมืองมีเจ้าเมืองบ่ ป่ามีต้นไม้บ่ ในวัดมีพระบ่ เมืองนี้มีคนเฒ่าบ่ บรรดาลูกเรือได้ยินคำถามที่เสียวสวาดถามนายสำเภา กะพากันหัวอย่างม่วนซื่น เห็นเป็นเรื่องเป็นตาหัว คิดว่าเป็นคำถามที่โง่หลาย นายสำเภาได้เตือนเสียวสวาดว่า เฮาล่องเฮือมานี่เพื่อค้าขาย ควรเว่าแต่เรื่องกำไรขาดทุนหรือสิ่งที่เป็นมงคลท่อนั้น อย่าเว่าไร้สาระอย่าเว่านอกเรื่องนอกราว การเดินทางผ่านไปหลายมื้อ จนเดินทางมาฮอดเมืองจำปาบ้านเมืองของนายสำเภา บรรดาลูกเรือทั้งหลายต่างกะแยกย้ายกันกลับไปเฮือนซานบ้านช่องของจักของ ส่วนเสียวสวาดได้ไปพักอาศัยอยู่กับบ้านนายสำเภา ได้เว่าเรื่องการไปค้าขายให้ลูกเมียของเขาฟัง แล้วเว่าว่าเทื่อนี้มีโชคกว่าที่ผ่าน ๆ มาคือได้ลูกชายจากเมืองพาราณสีมานำผู้หนึ่ง ถือเป็นผู้บ่าวที่ดู๋แฮง เอาการเอางาน หนักเอาเบาสู้ ที่สำคัญคือเป็นคนซื่อสัตย์บุคลิกดี แต่เสียอย่างเดียวคือมักถามในเรื่องบ่มีสาระ ตอนที่นายสำเภาเว่าเรื่องเสียวสวาดอยู่นั้น นางสีไว ลูกสาวผู้งามของนายสำเภากะนั่งฟังอยู่นำ สนใจอยากฮู้ว่าหนุ่มผู้นี้สิถามว่าจั่งได๋ พ่อของนางจั่งเห็นเป็นเรื่องบ่มีสาระ นางจั่งขอให้พ่อเว่าสู่ฟัง พอนางได้ฟังคักแล้วบอกกับพ่อของนางว่า ที่เสียวสวาดถามว่าในเมืองมีเจ้าเมืองบ่ เขาหมายถึงมีผู้ปกครองบ้านเมืองที่มีคุณธรรมในการปกครองบ้านเมืองบ่ ที่ถามว่า ในป่ามีต้นไม้บ่ หมายความว่า มีต้นไม้ที่มีค่ามีราคาบ่ จั่งไม้หอม ไม้แก่นจันทน์ จั่งซี่มีบ่ ที่ถามว่า มีบ้านคนอยู่บ่ หมายความว่า มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่ฉลาดรอบรู้อยู่บ่ ที่ถามว่า ในวัดมีพระบ่ หมายถึงพระสงฆ์ผู้ทรงศีล รอบรู้ พระธรรมวินัย มีบ่ ที่ถามว่า หาดทรายมีหินบ่ หมายความว่า มีหินที่มีคุณค่ามีราคา จั่งเพชรนิลจินดา แก้วมณีไพฑูรย์ต่าง ๆ มีบ่ ที่ถามว่า เมืองนี้มีคนเฒ่าบ่ หมายความว่าคนเฒ่าที่มีศีลธรรมน่าเคารพนับถือ
เมื่อนางสีไวได้อธิบายคำถามของเสียวสวาดให้ผู้เป็นพ่อฟัง เฮ็ดให้พ่อแม่ของนาวสีไวมีความพอใจที่ธิดาของตนมีความเฉลียวฉลาดสามารถล่วงรู้ถึงปัญหาที่เสียวสวาดซักถามเป็นอย่างดี ส่วนโตเสียวสวาดนั้นกะเป็นคนมีผญาหลักแหลมสมชื่อ บ่ได้โง่เง่าคือจั่งคนอื่นเข้าใจ ดังพ่อแม่ของนางสีไวฮักแล้วกะพอใจเสียวสวาดหลาย จนได้ตัดสินใจแต่งงานให้เสียวสวาดกับนางสีไวอย่างดี
ต่อมาเจ้าเมืองจำปา ขาดคุณธรรมปกบ้านครองเมือง เฮ็ดให้ชาวเมืองเกิดความวุ่นวาย บ่มีความสุขไปทุกหนแห่ง ชาวเมืองต่างกะหวาดระแวงว่าสิบ่ได้รับความปลอดภัยทั้งจักของแล้วกะครอบครัว เจ้าเมืองจำปากะระแวงว่าภัยสิเกิดกับเจ้าของ จั่งได้เกณฑ์ชาวเมืองให้มานอนเฝ้าระวังภัยให้พระองค์คืนละห้าร้อยคน พอตกดึกบรรดาพวกเวรยามต่างก็พากันนอนหลับสนิท เจ้าเมืองจำปาสิย่างออกมา แล้วกะใช้ดาบตัดคอพวกเวรยามซุมนั้นให้ตายไปทุกคืน เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วสามคืน มีคนถืกฆ่าตายจำนวนพันห้าร้อยคน ในคืนที่สี่ฮอดเวรของนายสำเภาพ่อตาของเสียวสวาด นายสำเภาฮู้โตดีว่าสิมีชีวิตอยู่อีกมื้อเดียวท่อนั้น หลังจากที่ไปอยู่ยามแล้ว เขาสิถืกฆ่าตาย บ่ได้กลับมาเห็นลูกเมียอีกต่อไป นายสำเภาได้เอิ้นลูกสาว เมียกับลูกเขยมาพร้อมกัน พร้อมกับสั่งลา มอบทรัพย์สมบัติให้ แต่เสียวสวาดบ่ยอมให้พ่อตาไปอยู่ยามรับอาสาสิไปอยู่แทนให้ได้ นายสำเภาเห็นความกตัญญูของเสียวสวาด บ่อาจสิทัดทานได้เลยยอม เสียวสวาดได้ไปอยู่ยามแทนพ่อตาในคืนที่สี่นั้นเอง พอฮอดเวลาเสียวสวาดได้เลือกนั่งยามตรงกับทางผ่านขึ้นลงพร้อมทั้งนั่งบริกรรมภาวนาพระคาถาอยู่ดนจนฮอดเที่ยงคืน เวรยามคนอื่นหลับหมดแล้ว ยามนั้นเป็นเวลาที่เจ้าเมืองจำปาถือดาบออกมา กำลังสิยกดาบขึ้นฟันคอคนที่นอนหลับอยู่ เสียวสวาดกะจ่มคาถาให้เกิดเสียงดังขึ้น เจ้าเมืองจำปาได้ยินเสียงที่เสียวสวาดจ่มคาถากะย่างกลับเข้าไป จักหน่อยหนึ่งกะย่างถือดาบออกมาอีกเสียวสวาดจ่มเป็นปริศนาอีก เจ้าเมืองจำปาได้ยินเสียงย่างกลับไปอีกเทื่อหนึ่ง จนเกือยสิแจ้งจั่งได้ถือดาบออกมาอีกเสียวสวาดจ่มเป็นปริศนาอีก เจ้าเมืองจั่งได้ย่างกลับเข้าไปอีก เป็นอันว่าตลอดคืนที่สี่นั้นบ่มีผู้ได๋ถืกฆ่า พอฮุ่งเช้าพวกเวรยามต่างกะกลับบ้านจักของ ตกแลงมื้อนั้นเอง เจ้าเมืองเอิ้นเวรยามทั้งหมดมาประชุม แล้วถามว่า เมื่อคืนที่ผ่านมามีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นพร้อมกับถามว่าเป็นเสียงเว่าของผู้ได๋ เสียวสวาดรับว่าตนเป็นคนเว่า เจ้าเมืองถามเสียวสวาดว่า “คเตสิ คเตสี กิงการณา คเตสิ” หมายความว่าจั่งได๋ เสียวสวาดจั่งได้กราบทูลเว่าให้ฟังว่า หมายถึงชายสองคนเป็นมู่กัน คนหนึ่งมักหว่านแห อีกคนหนึ่งมักฟังธรรม มื้อหนึ่งคนที่มักหว่านแห ไปหว่านแหเบิดมื้อบ่ได้ปลาจักโต คิดอยากไปฟังธรรม ส่วนคนที่มักฟังธรรม ฟังธรรมตลอดเบิดมื้อแต่กะจำอีหยังบ่ได้เลย คิดอยากไปหว่านแหลองเบิ่ง ในลักษณะจั่งซี่ผลบุญที่ได้นี้ตกแก่คนหว่านแห แล้วคำว่า “อหังปิตัง ชานามิ ชานามิ” หมายความว่าจั่งได๋ เสียวสวาดกราบทูลว่า มีชายหนุ่มผู้หนึ่งชื่อ กุททาละมีบักจกกับเสียมเป็นเครื่องมือเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน ขนาดว่าไปบวชกะยังคิดฮอดบักจกกับเสียม พอแต่สิกข์ออกมาแล้วกะบวชอีกเป็นจั่งซี่จนครบเจ็ดเทื่อ เทื่อสุดท้ายเขาตัดสินใจโยนบักจกกับเสียมลงในน้ำ แล้วหันมาตั้งใจบำเพ็ญเพียรภาวนาจนบรรลุผล แล้วคำว่า อัศจรรย์ใจโอ้ โอนอสังเวช สังมาเป็นดังนี้ เป็นน่าอยากหัว หมายความว่าหยัง
เสียวสวาดก็กราบทูลว่า มีหญิงสาวผู้หนึ่งไปเที่ยวหาหน่อไม้ในป่า ได้แล้วเอามาปอกกาบที่แข็ง ๆ ออก แล้วเอาแหง่โยนีจักของ หน่อไม้นั้นหักคา ขณะนั้นมีพระเฒ่าแฮงองค์หนึ่งเดินไปหาเปลือกไม้มาย้อมจีวร ย่างมาพ่อเข้า หญิงสาวได้ขอให้เพิ่นซ่อย โดยตกลงกันว่าคันซ่อยได้สิให้เสพสังวาส ท่านกะซ่อยจนดึงหน่อไม้นั้นออกมาได้ แล้วหญิงสาวคนนั้นกะย่างกลับเฮือนไปแต่งโต พระองค์นี้ถ่านางอยู่ดนหลาย เกิดกำหนัดขึ้นจับองคชาตสอดเข้าในโพรงไม้ ถืกกับแก้คาบองคชาตของท่าน หญิงสาวกลับออกมาพ่อ ได้ซ่อยจนท่านปลอดภัย เป็นอันว่าทั้งหญิงสาวกับพระเฒ่านั้น บ่เป็นหนี้บุญคุณต่อกัน
พอเจ้าเมืองจำปาได้ขอให้เสียวสวาดอธิบายความคาถาพร้อมกับปริศนาเหล่านั้น เขาก็สามารถอธิบายได้เบิด เจ้าเมืองจำปาเห็นว่าเสียวสวาดเป็นคนฉลาดควรที่สิมอบตำแหน่งสำคัญให้ซ่อยชาติบ้านเมืองได้ในยามคับขันจั่งซี่ จั่งได้แต่งตั้งให้เสียวสวาดเป็น "อัครมหาเสนาบดี" มีหน้าที่สอนพร้อมกับอบรมศีลธรรม จารีตประเพณีแก่ประชาชน พร้อมทั้งได้ประทานเงินทองและข้าทาสชายหญิงให้เสียวสวาดอีก ๕๐๐ คน
อยู่มามื้อหนึ่งเจ้าเมืองจำปา อยากทดลองจิตใจของเสนาอำมาตย์ว่าสิซื่อสัตย์ต่อพระองค์ปานใด๋ จั่งได้มีรับสั่งให้หาหมากขี้กา (หมากขี้กา) เป็นหมากไม้รสขมแฮงมาแจกให้หมู่เสนาอำมาตย์กิน ต่างคนต่างกะกินหมากขี้กานั้นแล้ว เจ้าเมืองจำปาจั่งบอกว่าหมากขี้กานี้กามีรสหวานดี แล้วจั่งหันไปถามซุมเสนาอำมาตย์ ทุกคนตอบคือกันว่า "หวาน" เว้นไว้ผู้เดียวที่ตอบว่า "ขมและบ่หวาน" กะคือเสียวสวาด พระองค์ตรัสถามเสียวสวาดว่า เป็นหยังบรรดาเสนาอำมาตย์ซุมนั้นคือตอบว่า หวาน ล่ะ จั่งซี่สิบ่เอิ้นว่าตั๋วบ่ เสียวสวาดจึงกราบทูลเจ้าเมืองจำปาว่าคนซุมนี้กราบทูลไปย้อนความย่าน พระองค์บอกว่าหวาน เขากะเลยตอบว่าหวานไปนำสิเจตนตั๋วกะบ่แม่น เจ้าเมืองยกโทษให้ ต่อมาได้เอิ้นเสนาอำมาตย์ซุมนี้ว่า "เสนาหมากขี้กา"
วันเวลาผ่านไปอีกจนเจ้าเมืองจำปาเห็นว่า โอรสของพระองค์หลงมัวเมาติดการพนันกับเหล้า บ่ค่อยสนใจศึกษา บ่ค่อยสนใจราชการบ้านเมือง จั่งได้มอบให้เสียวสวาดเป็นผู้อบรมสั่งสอน จนสามารถเฮ็ดให้โอรสของเจ้าเมืองจำปาสำนึกในคุณธรรม กลับโตเป็นคนดี เจ้าเมืองจำปายอมรับนับถือเสียวสวาด ได้ยกย่องให้เป็นครูอีกคนหนึ่งของพระองค์พร้อม นอกจากนี้เสียวสวาดยังได้อบรมสั่งสอนเสนาอำมาตย์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเมืองจำปาตลอดมา ด้วยคุณลักษณะพิเศษที่เสียวสวาดเป็นคนดีมีปัญหาเฉลียวฉลาดบ่ลืมโต เคารพอ่อนน้อมถ่อมตนต่อคนทั่วไป ทั้งปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างขยันหมั่นเพียร เป็นที่รักใคร่ชอบพอของเจ้าเมืองจำปา หลังจากที่เมืองจำปาผ่านพ้นภัยพิบัติถึงขั้นยุคเข็ญมาได้กะย้อนความฉลาดหลักแหลมของเสียวสวาด จนเมืองจำปาเจริญฮุ่งเฮืองอุดมสมบูรณ์ทรัพย์สินเงินทอง กะย้อนว่าเจ้าเมืองกลับมีศีลธรรมปกครอง บ้านเมืองโดยสุจริตยุติธรรม ประชาชนขยันหมั่นเพียรถือศีลฟังธรรม เคารพในจารีตประเพณี เคร่งครัดกฎหมายอันดีงามของบ้านเมือง
ตัวละคร ท้าวเสียวสวาด เป็นบุคคลที่มีปฏิภาณไหวพริบ ฉลาด มีปัญญา แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดี เป็นอาจารย์สอนอำมาตย์ ราชปุโรหิต สอนชาวเมือง แท้แต่พระราชาก็สอน และเป็นที่ปรึกษาของพระราชาในการปกครองเมืองอีกด้วย
ต้นฉบับ เอกสารใบลานจารด้วยอักษรธรรม ๒๐ ผูก จากวัดมหาวนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ปริวรรตและแต่งใหม่เป็นคากลอนโดย ปรีชา พิณทอง และขุนพรมประศาสน์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๐
เอกสารใบลานจารด้วยอักษรไทยน้อย ได้จากอุบาสิกาข้างวัดพระธาตุเชิงชุม จ. สกลนคร และ วัดอินทรนิมิต อ.เขาวง ปริวรรตโดยพระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ปี พ.ศ. ๒๕๒๓
เอกสารใบลานจารด้วยอักษรไทยน้อย ได้จากวันอินทรนิมิต อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ปริวรรต โดย เตชวโร ภิกขุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์บูราณ (กฎหมายเก่าของลาว) ต้นฉบับเดิมจารด้วยอักษรธรรม จำนวน ๔ ผูก จารเมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๓ ปริวรรตโดยอรุณรัตน์ วิเชียรเขียวและคณะ พิมพ์ครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๒๙
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องเสียวสวาดนอกจากให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลินแล้ว ยังมีคติ คือ เรื่องของความมีสติปัญญา หรือการใช้สติปัญญาให้ไปในทางที่ถูกต้อง ตัวละครเอกของเรื่องคือ ท้าวเสียวสวาด เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดมาก สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ และทำให้ได้เป็นใหญ่เป็นโต
แต่นั้น ยังมีเมืองใหญ่กว้างเฮียกชื่อพาราณสี กฎุมพีทั้งสองเป็นคู่ครองเพียรสร้าง สองเขือเจ้ากฎุมพีทั้งคู่ อยู่สืบสร้างปางนั้นต่อมา พากันได้ลูกน้อยมาเกิดเป็นชาย มีสองคนเกิดมานำเจ้า สองคนแท้เกิดมางามคล่อง สองพี่น้องงามละห้อยดั่งกัน ผู้พี่นั้นมีชื่อศรีเฉลียว เป็นคนงามดังอินทร์แปลงนั้น คนสองนั้นเป็นชายคือว่าเสียวสวาดเก่งกล้านามเจ้าต่อมา