top of page

อุสา – บารส

เนื้อเฮื่อง

พระเจ้ากรุงพานมีมเหสีและครองเมืองมาโดน แต่กะบ่มีโอรสหรือธิดาสืบสันติวงศ์ พระกรุงพานเพิ่นกะได้เฮ็ดพิธีขอโอรสต่อเทวดาทั้งหลาย เทื่อแรกกะบ่ได้ผล  ในป่าเทิงเทือกเขานั่นกะมีฤๅษีตนหนึ่งบำเพ็ญชาญแก่กล้า มื่อหนึ่งฤๅษีเพิ่นอยากได้พระธิดา ก็ได้มีกุมารีมาเกิดในดอกบัวอยู่ในสระข้างอาศรมของเพิ่น ฤๅษีกะได้นำมาเลี้ยงเป็นลูกสาวบุญธรรมของเพิ่น ชื่อว่า “นางอุสา” บาดใหญ่นางอุสากะกลายเป็นผู้หญิงที่มีคิงงามหลาย ของความงามของนางอุสาพระธิดาฤๅษีกะเลืองลือไปฮอดกรุงพาน พระเจ้ากรุงพานกะได้เสด็จมาฮอดอาศรมของฤๅษีทันที และเห็นว่านางอุสามีศิริลักษณ์ลักษณะผู้มีบุญญาธิการ เพิ่นเลยขอนางอุสามาเป็นพระธิดาบุญธรรมของเพิ่น พระฤๅษีกะบ่ได้ขัดข้องอิหยัง กะยินยอมให้นางอุสามาอยู่ในวังของพระเจ้ากรุงพาน พระเจ้ากรุงพานกะได้จัดสนมนางกำนันมาคอยฮับใช้นางอุสาอย่างหลาย แล้วสร้างหอคำให้เป็นหม่องอยู่ เอิ่นว่า “หออุสา” นางอุสาเพิ่นกะมีความสุขอยู่กับเหล่านางสนม มื่อหนึ่งนางเสด็จประพาสสวนอุทยาน ไปพ่อลำธารที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดเวลา นางกะได้คึดว่าลำธารนี้คือสิไหลผ่านเมืองหลายเมือง นางกะเลยได้กรองมาลัยเฮ็ดเป็นกระทงลอยไปแล้วกะเสี่ยงทายหาเนื้อคู่ ขอให้กระทงลอยน้ำไปเมืองที่มีเนื้อคู้เจ้าของ แล้วดลใจให้ฮู้ความในใจของนางนำ

กล่าวเถิงเมืองพะโค มีโอรสชื่อว่า “บารส” ได้เติบใหญ่เป็นหนุ่มแต่ยังบ่มีพระชายา  อยู่มา

มื่อหนึ่งเพิ่นกะได้ฝันว่ามีแก้วสว่างลอยมาจากฟ้า ลงมาใส่มือเพิ่น เพิ่นกะดีใจหลายกับแก้วดวงนี้ ตื่นขึ้นเพิ่นได้คึกหนักอุกอังใจแฮงเลยชวนอำมาตย์ไปเล่นน้ำ ในตอนนั้นเพิ่นกะเห็นกระทงตกแต่งกรองมาลัยอย่างงาม ท้าวบารสเพิ่นกะได้ไปเก็บกระทงนั้นแล้วซอมเบิ่งว่ากระทงนี้ผู้เฮ็ดคือเฮ็ดงามแท้ คือสิบ่แม่นฝีมือชาวบ้านธรรมดาเพิ่นกะซอมเบิ่งตั้งโดน กลิ่นไม้หอมจากกระทงกะเฮ็ดให้เพิ่นรัญจวนใจ อยากสิพ่อผู้เป็นเจ้าของกระทง ท้าวบารสเลยทูลลาพระราชาไปติดตามหาเจ้าของกระทงนี้ ท้าวบารสเพิ่นไปผู้เดียว ขี่ม้าไปลำพัง เทพเลยดลใจเพิ่นให้เข้ามาเมืองพาน ผูกม้าไว้อยู่คอก ปัจจุบันกลายเป็นหิน เอิ่นว่า “คอกม้าบารส” ท้าวบารสกะเข้าไปในเมือ ไปนำหานางในฝัน มื่อหนึ่งท้าวบารสหลงเข้าไปในอุทยานหลวงได้ยินเสียงเพลงลอยมาม่วนหลาย ท้าวบารสเลยนำหาเจ้าของเสียง แล้วกะพ่อนางอุสากำลังร้องเพลงอยู่ในสวนอุทยาน ทั้งสองพ่อกันกะได้มัก มีจิตสัมผัสกันและกันนำเทพบัลดาล ทั้งสองกะได้เว่าปราศรัยผูกไมตรีต่อกัน และนางอุสากะได้พาท้าวบารสไปเซี่ยงไว้อยู่หอคำ อยู่โดนมาข่าวลือเรื่องชายซู้ในตำหนักหอคำกะได้ฮอดหูพระเจ้ากรุงพาน พระเจ้ากรุงพานได้ให้ทหารไปจับโตท้าวบารสมาเข้าเฝ้า เพิ่นทรงเคียดอย่างหลายที่ท้าวบารถบังอาจบ่เกรงย่านพระราชอาญา เลยสั่งให้ประหารท้าวบารถโดยบ่ต้องไตร่สวนคดีความ ฝ้ายท้าวบารสเห็นแบบนั้นกะได้เว่าความจริงให้ฟัง พระเจ้ากรุงพานเลยส่งข่าวไปเมืองพะโค พระเจ้าเมืองพะโคเลยเห็นว่าสิเกิดสรงความใหญ่แท้ เลยยกทัพมาประชิดเมืองพาน แล้วต้อสู้กันโดยสงครามธรรมเพื่อสิบ่เป็นเวรกรรมต่อไปภายหน้า ในที่สุดทั้งสองเมืองกะพนันแข่งขันกันสร้างวัดให้เสร็จภายในคืนเดียว ทากพระเจ้ากรุงพานชนะสิยอมให้ประหารท้าวบารส หากท้าวบารสชนะพระเจ้ากรุงพานจะต้องยอมยกพระธิดาให้เป็นพระชายา วัดของพระเจ้ากรุงพานบ่เสร็จอันเป็นว่าท้าวบารสชนะและได้นางอุสาไปอภิเษกสมรสอยู่เมืองพระโค คือเมืองเวียงจันทร์สุมื่อนี้ วัดที่ทั้งสองสร้างแข่งกันยังมีซากโบราณสถานอยู่เทือกเขาภูพานน้อย อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี บ่ไกลจากหอนางอุสาเอิ้นว่า “วัดพ่อตา” และอีกวัดหนึ่งเอิ้นว่า “วัดลูกเขย” (ทั้งสองวัดเป็นโบราณสถานที่คนต่อเติมดัดแปลงจากหน้าผาธรรมชาติ มีพระพุทธรูปสลักรูปอยู่หน้าผาเป็นจำนวนหลาย มีอิฐโบราณแสดงให้เห็นว่ามีคนก่อสร้างเพิ่มเติม

ตัวละคร   ท้าวบารส       เป็นลูกกษัตริย์ที่มีความกล้าหาญชาญชัย    

                     นางอุสา          หญิงงามผู้มีความสามารถในการร้อยมาลัย ขับเพลง

ต้นฉบับ    ในที่นี่คัดมาจากหนังสือ วรรณคดีภาคอีสาน ของ อ.ธวัช ปุณโณทก ซึ่งเป็นหนังสือที่ใช้นากรเรียนการสอนของภาคภาษาไทยและภาษาตะวันนออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี   แสดงให้เห็นความเชื่อเรื่องกรรมเก่าที่ทำให้กลับมาพบกันอีกในชาตินี้ และเรื่องของบุพเพสันนิวาสก็เช่นกัน นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเรื่องเวรกรรม คือตอนที่พระเจ้ากรุงพานขอธรรมสงครามธรรมกับเจ้าเมืองพะโค เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีใครเจ็บตาย และจะได้ไม่เป็นเวรเป็นกรรมต่อกัน ฉากหรือสถานที่ที่ปรากฏในเรื่องนี้ เป็นที่มาของสถานที่ในปัจจุบันหลายแห่ง เช่น คอกม้าบารส  หอนางอุสา (ตั้งอยู่ที่ จ.อุดรธานี)  วัดพ่อตา และ วัดลูกเขย และพระธาตุบัวบก ก็เป็นพระธาตุที่สำคัญของภาคอีสาน

อุสาเสียงสว่างสร้อย       รัชนี

กลองกลั่นโลงทันที        อ่านอ้อย

บารสเรียกมาลี                เบงบาท   ทุมเอย

ตรีโจกทูทุกถ้อย             เถี่ยงก้องถามชัย

bottom of page