ท้าวหมาหยุย
เนื้อเฮื่อง
มีเมืองกว้างใหญ่นครใหญ่ไพศาลนามว่า “กุศาวดี” ราชาผู้นั่งเมืองนามว่า ท้าวจันไต มีพระมเหสี ๒ องค์ ต่อมามเหสีฝ่ายขวาตั้งครรภ์ประสูติโอรสออกมาผู้หนึ่ง แต่ว่าด้วยบุญนำกรรมแต่งโอรสนั้นมีลักษณะผิดแผกแปลกตากว่าคนในด้าว มีรูปร่างเป็นหมางามขนดกปุกปุย จึงได้พระนามว่า ท้าวหมาหยุย
ชาวเมืองเห็นจั่งสั้น กะพากันเห็นว่าเป็นแนวบ่ดี ผิดฮีตผิดคอง ลูกคนกะต้องคือคน แต่เกิดมาเป็นหมา เป็นกาลีบ้านกาลีเมือง สิเฮ็ดให้บ้านเมืองมีเหตุเภทภัยเดือดร้อนกันไปทั่ว
เรื่องนี้ได้ยินไปฮอดหูของท้าวจันไต ท้าวจันไตเคียดหลาย รับสั่งให้ไล่ท้าวหมาหยุยหนีออกจากเมืองไป ท้าวหมาหยุยได้ยินรับสั่ง จั่งได้เข้าไปกราบขออดโทษที่เกิดมาเป็นหมาในชาตินี้ ถือว่าเป็นบาปเป็นกรรมคักพอแล้ว พ่ออย่าซ้ำเติมลูกเถาะ ขออย่าได้เนรเทศลูกให้ไปอยู่ผู้เดียวหม่องอื่นเถาะ ขอให้บิดาเลี้ยงไว้ก่อน ฝ่ายท้าวจันไตพอได้ยินหมาหยุยที่เป็นหมา ที่เว้าความคนได้กะคิดลิโตน พระทัยอ่อนอดโทษให้ท้าวหมาหยุย เซาไล่ท้าวหมาหยุย เลี้ยงท้าวหมาหยุยไว้ในเมืองต่อไป
ต่อมา พระมารดาท้าวหมาหยุยมีท้องอีก เทื่อนี้ออกลูกเป็นชาย สิริโฉมสง่างาม ถือธนูอาวุธคู่คีงออกมาพร้อม เป็นนิมติหมายบอกให้ฮู้ว่าเป็นผู้มีบุญญาธิการมาเกิด ท้าวจันไต ฮักแพงพระโอรสองค์นี้หลาย พระราชาตั้งใจว่าสิยกราชสมบัติให้โอรสผู้นี้ครอบครองต่อไป แล้วกะได้ตั้งพระนามให้ว่า ท้าวจันทร์ ย้อนว่า โอรสเกิดยามจันทรคลาสพอดี ต่อมาพระมเหสีตั้งท้อง ได้พระธิดาออกมาอีกองค์หนึ่ง พระมารดาของท้าวหมาหยุยและท้าวจันทร์ ได้สวรรคตหลังจากออกพระธิดาได้แค่ ๗ มื้อ ทั้งสามกะเลยกลายเป็นลูกกำพร้าแม่
มื้อหนึ่งมเหสีฝ่ายซ้ายได้ชวนท้าวจันทร์น้องชายของท้าวหมาหยุยไปเที่ยวเล่นอยู่ อุทยานหลวง แล้วกะผลักท้าวจันทร์ลงเขา แต่ท้าวจันทร์ค้างอยู่เครือไม้ ฝ่ายท้าวหมาหยุยแนมบ่เห็นน้องชาย จั่งได้ออกนำหาจนพ่อแล้วกะได้ซ่อยน้องชายออกมาจากเครือไม้ สองคนพี่น้องเห็นว่ามีคนคิดบ่ดีสิเฮ็ดอันตราย พากันหนีออกจากเมือง จนไปพ่อพระฤๅษีอยู่ป่าหิมพานต์ ขอฝากโตเป็นศิษย์เรียนวิชากับพระฤๅษีองค์นั้น
ต่อมา เมืองกุศาวดีมียักษ์มากินคน สั่งให้พระราชาหาคนให้มื้อละ ๑๐๐ คน จนมาฮอดสิกินลูกสาวหล่าพระราชาน้องสาวของท้าวหมาหยุย พระฤๅษีฮู้เรื่องด้วยฌาณ บอกท้าวหมาหยุยกับท้าวจันทร์ ท้าวหมาหยุยเหาะมาเร็วกับยักษ์ สามารถปราบยักษ์ได้ แล้วเอาน้ำเต้ามาชุบคนทั้งหลายที่ยักษ์กินจนฟื้นคืนมา คนทั้งหลายกะพร้อมใจกันขอร้องให้พระราชาเชิญท้าวหมาหยุยขึ้นนั่งเมืองแทน
ตัวละคร ท้าวหมาหยุย ถึงแม้จะรูปร่างหน้าตาไม่ได้ แต่เป็นผู้ที่มีจิตใจดี และความสามารถมาก
พระราชาจันไต มองคนที่รูปร่างภายนอก หูเบาเชื่อคนง่าย
ต้นฉบับ ท้าวหมาหยุย คำกลอนอีสาน เรียบเรียงโดน จินดา ดวงใจ พิมพ์ที่โรงพิมพ์คลังนานาธรรม จ.ขอนแก่น
ต้นฉบับอักษรธรรม ๕ ผูก อยู่ที่วัดหนองเป็ด ต.นาคาย อ.ตาลสุม จ. อุบลราชธานี
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี นิทานเรื่องท้าวหมาหยุย ให้คติคล้ายเรื่องแก้วหน้าม้าและเรื่องท้าวก่ำกาดำ คือให้คติเรื่องการมองคน ว่าอย่ามองคนเพียงแค่รูปร่างหน้าตาภายนอก ควรมองให้ลึกลงไปถึงข้างในจริง ๆ ที่บุคคลนั้นเป็น
...ก็หากทรงครรภ์น้อยจวนถ้วนแก่เดือน จึงประสูติลูกน้อยนามหน่อกุมาร เป็นหมาหยุยรูปงามปานแต้ม เขาก็สวา ๆ ท้วงดาสนั่นทั้งเมือง สังว่าแนวนามคนเกิดมาเป็นหมาน้อย เฮาก็เกิดแต่น้อยจนใหญ่กายชาวนี้แล้ว