top of page

พื้นเมืองอุบล

เนื้อเฮื่อง

เรื่องพื้นเมืองอุบลเป็นการเล่าหาประวัติของการอพยพกลุ่มพระวอ – พระตา ที่ย้ายมาจากวังเวียงฮอดการก่อตั้งเมืองอุบลในหม่องที่เป็นเมืองอุบลราชธานีปัจจุบันนี้ เชื้อสายของคนที่อพยพมาก่อตั้งเมืองอุบล เพิ่นมาจากบ้านหินโงม อยู่เวียงจันทร์ โดยมีพระตาเป็นหัวหน้า พระตาเป็นผู้มีอำนาจหลายปกครองบริวารจำนวนหนึ่ง พระตามีลูกซายอยู่สามคน คือ ท้าววอ ท้าวคำผง ท้าวพรม กษัตริย์เวียงจันทร์ได้ตั้งท้าววอเป็นพระวอ เป็นนายกองคุมกองนอก บาดกษัตริย์เวียงจันทร์เพิ่นสวรรคตกษัตริย์องค์ใหม่กะได้ข่มเหงลูกสาวของพระตา พระตาบ่พอใจ กะได้พาไพร่พลลอบอพยพหนีจากเวียงจันทร์ โดยมีไพร่พลเป็นครัวเฮือนสามหมื่นกว่าๆ แล้วเป็นทหารอีกสี่พันคน เพิ่นกะได้แบ่งเป็นสามกอง คือ หลวงราชโภชนัย เป็นกองหน้ากำลังคนหมื่นเศษ ท้าวนาม เป็นกองกำลังคนหมื่นเศษ และ พระตา พระวอ เป็นกองกลาง และมีท้าวชม ท้าวสูน เป็นกองสอดแนม

            บาดเดินทางได้เดือนหนึ่งฮอดหนองบัวลำภู โดยกองของพระตาอยู่ใกล้กับภูวง หลวงราชโภชนัย ตั้งอยู่หม่องบ้านผ้าขาวพรรณนาใกล้กับลำน้ำสงคราม ท้าวนามไปตั้งอยู่หม่องภูเวียง กษัตริย์เวียงจันทร์กะได้ยกทัพมาประมานหมื่นคนมาปราบโดยให้เมืองแสนกับเมืองจันเป็นแม่ทัพมาตั้งพักอยู่หม่องหนองคายในปัจจุบัน กองสอดแนมฝ่ายพระตากะได้รายงานให้พระตาฮู้ กองทหารเวียงจันทร์กะเลยถืกซุ่มโจมตีอย่างยับเยิน กองทัพเวียงจันทร์เสียทหารประมาณ ๕๐๐ คน ฝ่ายพระตาได้อาวุธ ช้าง ม้า ทรัพย์สินอันมากหลาย ในวันเสาร์ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ ทัพเวียงจันทร์กะได้ยกทัพมาตีอยู่หนองบัวลำภูแต่กะแพ้กลับไป พระวอซนซ้างฆ่าอุปราชเวียงจันทร์ตาย พระตาได้ตั้งบ้านเมืองอยู่หนองบัวลำภู ๗ ปี ต่อมากษัตริย์เวียงจันทร์ได้ขอความฮ่วมมือกับเมืองเชียงใหม่ขอกองทัพมาซ่อยปราบพระตา กษัตริย์เชียงใหม่ยกทัพมาซ่อยรบ พระตากะเลยได้พาบริวารมาตั้งเมืองอยู่หม่องร้อยเอ็ดในปัจจุบัน รบกันตั้งแต่เดือนยี่ แรม ๘ ค่ำ วันจันทร์จนฮอดเดือน ๓ วันเพ็ญจึงลาถอย แต่สูนเสียคนบ่หลาย เพราะรบไปถอยไป พระตาเดินทางไปจากร้อยเอ็ดอีก ๔ เดือน กะฮอดเมืองจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองจำปาศักดิ์บ่อยากให้อยู่เพราะว่าย่านสิเป็นชักศึกเข้าบ้าน ได้มาตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำพลึง คือบ้านดู่ บ้านแก ตั้งอยู่บริเวณนี้อีก ๑๐ ปี เจ้านามตั้งอยู่พรรณนาผ้าขาวร้อยเอ็ด กษัตริย์เวียงจันทร์ยกกองทัพเรือมีกำลังพลประมาณสองหมื่น รบกันตั้งแต่เดือน ๔ ฮอดเดือน ๕ ข้างแรม รบอยู่สองเดือนกะบ่แพ้ชนะแก่กัน พระวอขี่ม้าออกมารบอย่างกล้าหาญต่อสู้ฆ่าคนตายไปประมาณพันคน แล้วพระวอกะขาดใจตายในหม่องรบเพราะว่าเมื่อยและบอบช้ำจากการรบ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรม ได้ซ่อยกันฮักษาเมืองให้มั่นคงไว้ พระตาได้มีสาส์นมาทูลบอกพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินจึงส่งทัพมาซ่อย  รบกันตั้งแต่เดือน ๔ ฮอดเดือน ๘ วันจันทร์ ขั้น ๑๒ ค่ำ ปีมะโรง กษัตริย์จำปาศักดิ์ออกมาอ่อนน้อมส่งส่วยต่อฝ่ายไทย ท้าวคำผงได้เป็นแม่ทัพยกไปตีเวียงจันทร์ฮ่วมกับทัพไทยลาวในอีสาน เวียงจันทร์ หลวงพระบาง จำปาศักดิ์ได้ขึ้นต่อไทย ตั้งแต่นั้นมาพระไทยกะได้นำเอาพระแก้วมรกต และนางเขียวค่อมราชธิดาเวียงจันทร์กลับไทย พระตาเพิ่นได้สิ้นชีวิตตอนเพิ่นอายุ ๗๘ ปี สอนให้ลูกหลานประพฤติปฏิบัติตนตามประเพณี และมีหลักการปกครองแทรกอยู่นำ และสั่งให้อาศัยหม่องใกล้ๆแม่น้ำมูล  พระตาสิ้นในวันศุกร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำ และในเดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เฮ็ดศพกลางท่งใหญ่ จัดตั้งวางศพเทิงเมรุนกหัสดีลิงค์สมโภชศพ ๗ มือ ๗ คืน และก่อพระธาตุพระวอพระตาไว้นอกเมือง

ตัวละคร     -

ต้นฉบับ     พื้นเมืองอุบล ; ข้อวินิจฉัยบางประการและภาพสะท้อน  เรียบเรียงโดย อรรถ  นันทจักร์ สนับสนุนโดย  กลุ่มผู้สนใจอีสานคดีศึกษายโสธร  อำนาจเจริญ  ชัยภูมิ  ศูนย์วัฒนธรรมอีสานอำนาจเจริญ  

พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี   เรื่องพื้นเมืองอุบลเป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์     เล่าถึงการก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี  จากการเคลื่อนย้ายพลกลุ่มพระวอ – พระตา จากเมืองลาว  ในเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต  การสร้างเมือง  การสร้างครอบครัว ความสามัคคีกันของคนในกลุ่ม  และการทำสงครามที่ต้องอาศัยยุทธศาสตร์  ยุทธวิธีที่แยบยล เพื่อให้ได้ชัยชนะ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงชีวิต การปกครอง หรือกระทั่งการทำสงคราม

                    ของกินบ่ฮ่อนจับจ่ายซื้อ                        ขายแลกเงินคำ

            มีแต่ขอกันกิน                                               ฮ่อนแพงหวงไว้

            เฮือนไกไก้                                                   ก็คือดังเฮือนเดียว

            เที่ยวไปกินของกัน                                      โลดบ่มีความเว้า

            เจ้าเลี้ยงข่อย                                               ข่อยเลี้ยงเจ้า

            แลงงาย                                                       กินกันไขว่

bottom of page