top of page

พื้นเวียง (เวียงจันทน์)

เนื้อเฮื่อง

จักกล่าวเถิงเมืองเวียงจันทร์ มีกษัตริย์ซื่อว่าพระอนุรุทธาธิราชเจ้า (พระเจ้าอนุวงศ์) มีมเหสีฝ่ายขวาซื่อคำปอง มเหสีฝ่ายซ้ายซื่อคำจันทร์ มีพระธาตุพนมเป็นหม่องยึดเหนี่ยวจิตใจของซาวลาว ต่อมาได้เกิดพายุแผ่นดินแยกแล้วเกิดฟ้าผ่าพระธาตุพนมอันเป็นหม่องสักการะกราบไหว้บูซาได้พังพินาศลง ซ่างเป็นลางฮ่ายของบ้านเมืองมาฮอด หลวงบกบัตรเมืองโคราชขออนุญาตราชสำนักสยามเพื่อขอปราบ ไล่ พวกข่าอยู่ดอนโขงบ้านด่าน บาดได้ฮับพระบรมราชานุญาต หลวงยกบัตรกะได้ออกมาขูดฮีดซาวบ้านซาวเมือง ยกทัพไปโจมตีซาวพื้นเมือง คนล้มตายเป็นจำนวนหลาย

 

พระยาไกรเจ้าเมืองภูขันบ่ยอมอ่อนต่อเมืองโคราชกะได้ฮ้องมายังสำนักสยาม ราชสำนักสยามกะได้ส่งคุณมหาอมาตย์ขึ้นไปไต่สวนความ บ่พ่อกับหลวงยกบัตรเมืองโคราชกะได้พ่อคำเว่าเพ็ดทูลแล้วได้ฮับสินบน คุณมหาอามาตย์กะเดินทางต่อเพราะสิไปราบงานต่อราชสำนัก พระยาไกรกะได้ฮ้องไปอีก คุณมหาอามาตย์กะได้เดินทางไปอีกคือเก่า หลวงยกบัตรเพิ่นกะได้จัดแต่งเครื่องบรรณาการข้าทาสถวายราชสำนักนำ หลวงยกบัตรได้ฮับแต่งตั้งให้เป็นพระยาพรหมภักดีแล้วสัญญาว่าพอเจาเมื่องโคราชฮอดแกกรรมแล้วสิให้พรหมพระยาภักดีขึ้นครองเมืองแทน พระยาพรหมภักดีเพิ่นได้เป็นคนโปรดของราชสำนักสยาม ได้กดขี่ขูดฮีดซาวเมืองหลายขึ้นในที่สุดซาวเมืองที่มีซาวข่ารวมอยู่นำ มีหัวหน้าคือเจ้าหัวสาตั้งอยู่หม่องเขาเก็ดโง่ง บ้านหนองบัว แขวงจำปาศักดิ์ มีพวกข่าจำนวนหลายขึ้นมาเผาเมืองจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองจำปาศักดิ์หนีไปหาพระพรหม พระอนุรุธาธิราชเจ้าเมืองเวียงจันทร์กะได้ออกมาปราบแล้วจับเจ้าหัวสาได้ บาดได้สอบสวนเจ้าหัวสากะสารภาพว่าพระยาพรหมภักดีเป็นผู้ยุแหย่ แต่พระยาพรหมภักดีเพิ่นกะว่าบ่ได้เฮ็ด

 

จากเหตุดั่งกล่าวเฮ็ดให้ทั้งสองขัดแย้งกันหลายกว่าเกิดจากการสอบสวนแม่ว่าพระยาพรหมภักดีสิมีความผิดแต่กะทรงเป็นว่ามีคุณต่อแผ่นดินกะยกความผิดให้ พระอนุรุทธาธิราชทูลขอให้ราชบุตรของพระองค์ครองเมืองจำปาศักดิ์กะทรงอนุญาต พระยาพรหมภักดีกะเห็นว่าพระยาอนุรุทธาธิราชสิมีอำนาจขึ้นสุมื่อ พวกลาวสิกลับไปวังเวียงได้เบิด ทางแก้กะคือสักเลกพวกลาวไว้ก่อน ทางราชสำนักสยามก็เห็นนำจั่งใดสั่งโปรดให้หมื่นภักดี หมื่นพิทักษ์ไปเป็นแม่กองสักเลกพวกลวงอยู่กาฬสิน ละคร เหมราษฐ์บังมุขอุบล ฯ

 

เจ้าเมืองโคราชถึงแก่อสัญกรรม พระยาพรหมภักดีได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให่เพิ่นได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน พญาพรหมภักดีเฮ็ดความเดือดฮ้อนให้กับซาวลาวและข่าหลายขึ้นสุมื่อ พระอนุรุทธาธิราชเจ้าเมืองเวียงจันทร์ได้ยกทัพมาเพื่อจับนายกองสักเลกแล้วกะได้กดขี่ราษฎรฆ่าเสีย แล้วหลายสิล้มอำนาจพระยาพรหมภักดีนำ

 

ในที่สุดทัพเวียงจันทน์กะได้ย่างทัพเข้าเมืองโคราช กรรมการเมืองกะยอมอ่อนน้อมให้ ทัพเวียงจันทน์กักคนไว้อยู่หม่องค่ายมูลเค็ง (ทุ่งสัมริด) อีกส่วนหนึ่งกะออกนำล่าพระยาพรหมภักดีโดยที่มีพระยาไกรเป็นหน้า พระยาพรหมภักดีได้ปลอมโตเป็นไพร่ลอบเข้ามาค่ายมูลเค็ง พระยาพรหมภักดีเพิ่นคึดว่าสิเซาการกวาดต้อนคนของทัพเวียงจันทร์ให้เป็นไปอย่างซ่าๆ แล้วได้รวมคนของเมืองกาฬสินธุ์ ละคร แปะ (บุรีรัมย์) ปัก (ปักธงชัย) ร้อยเอ็ด ในตอนที่ค่ายมูลเค็งก่อความบ่สงบ กะได้ฆ่าพวกทหารเวียงจันทร์ไปเกือบเบิด เจ้าเมืองเวียงจันทน์ได้ฮู้ข่าวกะทรงเคียดอย่างหลายแล้วจัดให้ถอยทัพ ฟ่าวยกไพร่พลกลับเวียงจันทร์ ฮู้ฮอดราชสำนักสยามกรุงเทพฯ ฮู้แค่ว่าเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏ จึงโปรดให้พระยามุนินทร์ เจ้าเมืองลือเดช (เจ้าพระยาบดินทร์เดชา สิงห์ สิงหเสนี) เมื่อทัพทางกรุงเทพขึ้นไป ทัพลาวแพ้ยับเยินเจ้าเมืองเวียงจันทร์หนีไปฮอดแกว (ญวน) แต่ในที่สุดพระองค์ถือทัพไทยจับได้แล้วถือส่งโตไปกรุงเทพฯ ในที่สุดกะฮอดแก่ทิวงคต

ตัวละคร     -

ต้นฉบับ     พื้นเวียง  (กลอน ๗)  พงศาวดารเวียงจันทน์  สมัยพระเจ้าอรุรุทธาธิราช (พระเจ้าอนุวงศ์)  สืบค้นโดย จารุบุตร  เรืองสุวรรณ  สมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชอุปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เผยแพร่เมื่อ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

                      หอสมุดแห่งชาติท่าสุกรี กรุงเทพมหานคร มีต้นฉบับใบลายเขียนด้วยอักษรไทน้อย มีความยาว ๙๗ ลาน เจาะรูตรงกลางใช้เชือกสายสนองผูกร้อยไว้เป็นมัดรวมกัน เขียนบันทึกติดกันเป็นพืดไม่เว้นวรรค จดบันทึกไว้ทั้งสองด้าน คือด้านหน้าอ่อนและหน้าแก่

                      ต้นฉบับเอกสารเรื่องพื้นเวียง (ฉบับอักษรธรรมและอักษรไทยน้อย) ในภาคอีสานตามที่ศูนย์

                      ประสานงานการพระพุทธศาสนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้สำรวจวรรณกรรมอีสานและขึ้นบัญชีไว้ เมื่อปี ๒๕๑๖  มีดังนี้

                         - พื้นเวียงจันทน์ อยู่ที่วัดทุ่งสันติวัน ต.พะลาน อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

                         - เวียงจันทร์ อยู่ที่วัดป่าแซง ต.พะลาน อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

                         - พื้นเวียงจันทน์ อยู่ที่วัดบ้านบุตร ต.นาคำใหญ่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

                         - พื้นเมืองเวียงจันทน์ อยู่ที่วัดป่าสงเปือย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี

                         - เวียงจันทน์ อยู่ที่วัดศรีสะอาด ตงหนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม

                         - เวียงจันท์ อยู่ที่วัดสระแก้ว ต.ท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

                         - พื้นเมืองเวียงจันทน์ อยู่ที่วัดดอนแก้วเชียงดา ต.สร้างค่อม อ.นากลาง จ.อุดรธานี

                         - พื้นเวียงจันทน์ อักษรธรรม ๕ ผูก อยู่ที่วัดป่าก้าว ต.โนนสมบูรณ์ อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี

พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี   เรื่องพื้นเวียง เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์  แสดงให้เห็น รูแปบการทำศึกสงคราม รูปแบบการปกครอง และความสามารถในการปกครองบ้านเมืองของกษัตริย์สมัยก่อน  ทั้งกษัตริย์ลาวและกษัตริย์ไทย

ลาวนั้น               หักแต่ค่าย                  มูลเค้งจึ่งมา                 แท้แล้ว

 เขาก็คองว่า       ไทยเดียวแท้              เวียงจันทน์ก้ำฝ่าย        ตนนั้น

 ก็จึ่ง                   ตามไต่เต้า                 ทางแท้ด่วนคือ             หั้นแล้ว ฯ

bottom of page