ฟ้าแดดสูงยาง
เนื้อเฮื่อง
เจ้าเมืองฟ้าแดดชื่อว่า “พระยาฟ้าแดด” มีมเหสีชื่อว่า “จันทาเทวี” มีราชธิดาที่มีหน้าตาและคิงงดงามชื่อ “นางหยาดฟ้า” พระยาแดดเพิ่นฮักแล้วกะแพงแฮง เพิ่นฮอดสร้างปราสาทกลางน้ำให้เป็นหม่องอยู่และบ่มีคนเข้าออก ปราสาทที่อยู่บริเวณซึ่งปัจจุบันเอิ้นว่า “โนนสาวเอ้” ต่อมาเจ้าเมืองเซียงโสมชื่อ “พระยาจันราช” เสด็จออกล่าเนื้อต่อไก่ในป่า ได้พ่อกวางทองเป็นเทวดาแปลงกายมา พระนาจันทราช กะได้พยายามนำกวางทองจนหลงกับไพร่พลที่นำเพิ่นมาและหลงเข้าไปในเมืองฟ้าแดด เมื่อเพิ่นได้ฮู้กิตศัพท์ความงดงามของนางหยาดฟ้ากะลอบเข้าไปพ่อนางฟ้าหยาดพระธิดากะได้ลักลอบเข้าไปพ่อนางฟ้าหยาด และสมสู่จนนางมีครรภ์ พระยาจันทราชก็ลานางกลับเมืองเชียงโสม เพื่อสิสู่ขอนางฟ้าหยาด เมื่อพระยาจันทราชกลับฮอดเมืองเชียงโสมกะส่งอำมาตย์ชื่อขุนเส็งกับขุนคนเป็นทูตถือสาส์นมาทูลขอนางฟ้าหยาด พระยาฟ้าแดดบ่ยอมยกนางให้ พระยาจันทรมีความเคียดเลยยกทัพมาล้อมแล้วได้ต่อสู้กัน ในที่สุดพระยาจันทราชกะเสียท่า
ถืกพระยาฟ้าแดดฟันเสียชีวิตเทิงคอซ้างในการเฮ็ดยุทธหัตถี นางฟ้าข่าวบาดได้ฮู้ข่าวกะเศร้าโศกเสียใจอย่างหลายจนเป็นลมเสียชีวิต พระยาฟ้าแดดได้สำนึกจึงจัดงานพระศพของพระธิดาและพระยาจันทราชและได้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้สององค์ และให้พระยาธรรม น้องชายของพระยาจันทราชเป็นเจ้าเมืองครองเมืองเชียงโสมในฐานะเมืองขึ้น และให้ส่งบรรณาการให้เมืองฟ้าแดด พระยาธรรมยังคงเคียดแค้นพระยาฟ้าแดด จึงทำนุบำรุงบ้านเมืองแล้วร่วงไพร่พล เมื่อแข็งแรงพอกะยกทัพมาตีเมืองฟ้าแดด พระยาฟ้าแดดกะเฒ่าแฮงแล้วกะบ่สามารถต่อสู้ได้กะยอมอ่อนน้อมแก่เมืองเชียงโสมเมื่อทั้งสองเมืองรวมเป็นเมืองเดียวกันกะเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฟ้าแดดสูงยาง
ตัวละคร -
ต้นฉบับ นิยายเมืองฟ้าแดดสูงยาง เรียบเรียงโดย ปิยพร ในหนังสือ เสมาเมืองฟ้าแดดสูงยาง เอกสารทางวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ เรียบเรียงโดย ถาวร ชุปวา
พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี วรรณกรรมเรื่องฟ้าแดดสูงยาง เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องราวการสร้างเมืองกาฬสินธุ์ ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง ตามแบบอย่างของกษัตริย์สมัยโบราณ
เมืองฟ้าแดดสูงยาง ซึ่งปัจจุบันยังคงทิ้งรุ่งรอยของความเจริญมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มแห่งประวัติศาสตร์ไว้ ณ บ้านเสมา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เป็นเมืองลี้ลับ มาด้วยประวัติและตำนาน ชื่อเมืองนั้นฟังดูก็อาจจะใหญ่โตและรุ่งเรืองอยู่มาก หากสะภาพการเวลาอันผันแปรนั้นเอง ที่ทำให้นครแห่งนี้เหลือไว้เพียงความทรงจำในอดีตที่สืบสาวราวเรื่องเล่าสู่กันฟังมาจนบัดนี้ ด้วยความเชื่อ ความภูมิใจ ของชาวบ้านละแวกนั้น ซึ่งใครเล่าจะบอกได้ว่าเขาเหล่านั้นมิได้เป็นลูกหลาน พระยาฟ้าแดดสูงยาง