top of page

พระจันทกุมาร

เนื้อเฮื่อง

แต่ปางก่อนนั้น พระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็น เจ้าชายจันทกุมาร โอรสของพระเจ้าเอกราช ผู้ปกบ้านครองเมืองปุปผวดี พระบิดาได้แต่งตั้งให้เป็นพระอุปราช เฮ็ดหน้าที่ออกว่าราชการแทนพระองค์ พระเจ้าเอกราชมรปุโรหิตผู้หนึ่งนามว่า กัณฑาหาละ เฮ็ดหน้าที่ให้คำแนะนำกับตัดสินคดีความ ตอนแรก ๆ เฮ็ดหน้าที่ได้ดี แต่ต่อมารับกินสินบน จนเจ้าชายจันทกุมารฮู้เรื่อง ซ่อยให้เจ้าทุกข์ที่บ่ได้รับความเป็นธรรม พระเจ้าเอกราชได้ฮู้เรื่องแล้วกะได้แต่งตั้งให้เจ้าชายจันทกุมารเป็นผู้ตัดสินแทนปุโรหิต เฮ็ดให้ปุโรหิตเกิดความเคียดแค้นคิดหาทางทำลายเจ้าชายจันทกุมารตลอดมา

คืนหนึ่ง พระจ้าเอกราชฝฝันเห็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เห็นท้าวสักกะประทับอยู่ปราสาทมีเทพธิดาแวดล้อมอ้อมกาย ความฝันนี้เฮ็ดให้พระองค์คิดอยากไปเที่ยวเมืองสวรรค์ ปุโรหิตเห็นว่าเป็นโอกาส เลยกราบทูลให้บูชายัญเซ่นสรวงด้วยการเอาพระมเหสี ๔ พระองค์ พระโอรส ๕ พระองค์ พระธิดา ๔ พระองค์ พร้อมทั้งเศรษฐีประจำแคว้น ๔ คน มาโฮมกันไว้ บ่ท่อแต่นั้น พระองค์ยังได้นำพาหนะสำคัญ มีช้าง ม้า งัวอุสุภราช มาเซ่นบูชานำ พระบิดามารดามาวิงวอนอ้อนขอกะบ่ยอม

เจ้าชายจันทกุมารฮู้ว่าพระองค์เป็นต้นเหตุ ย้อนว่าไปขัดข้องหมองใจกับปุโรหิตกัณฑาหาละ  พระองค์สิต้องแก้ไขเอง พระองค์ได้ไปวิงวอนอ้อนขอพระบิดาจนใจอ่อน ยอมปล่อยทุกคนถึง ๓ เทื่อ แต่กะถืกปุโรหิตคัดค้าน จนพระเจ้าเอกราชรับสั่งให้จับทุกพระองค์เป็นเทื่อที่ ๔ แล้วพาออกเมืองไป ชาวเมืองพากันฮ้องไห้ ในเมืองถืกความโศกเศร้าปกคลุม เจ้าชายจันทกุมารยืนอยู่ปากขุมบูชายัญ ขอร้องพระบิดาเป็นเทื่อที่ ๔ พระนางจันทาชายาของเจ้าชายได้อ้อนขอ แต่พระเจ้าเอกราชกะบ่ใจอ่อน จั่งได้กะสิบูชายัญให้ได้ ก่อนที่เจ้าชายจันทกุมารสิถืก ประหาร ท้าวสักกะถือกระบองเหล็กเสด็จลงมาม้างพิธี พร้อมกับตำหนิพระเจ้าเอกราช พระเจ้าเอกราชตื่นย่าน สั่งให้ปล่อยสู่คนพร้อมกับสัตว์สู่ตัว ชาวเมืองได้โอกาสพากันเข้ารุมตีปุโรหิจนตาย จากนั้นสิมาปลงพระชนม์พระเจ้าเอกราช แต่ว่าเจ้าชายจันทกุมารมาขวงไว้ทัน แล้วได้เนรเทศไปอยู่หมู่บ้านคนจัณฑาล จั่งได้อภิเษกเจ้าชายจันทกุมารเป็นราชาครองราชย์แทน พระองค์ได้เสด็จไปยามพระบิดาอยู่ตลอด ๆ ปกครองเมืองปุปผวดีให้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไป

ตัวละคร  พระจันทกุมาร เป็นผู้ที่มีปัญญาชาญฉลาด และมีความเมตตา

                     พระเจ้าเอกราช ผู้เป็นบิดา  หูเบา เชื่อคนง่าย 

                     ปุโรหิตกัณฑหาละ   เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยา คิดร้ายจนต้องตายเพราะการกระทำอันชั่วของตน

 

ต้นฉบับ   หนังสือ บารมีสิบชาติชาดก ของ พินิจ หุตะจินดา

พุทธศาสนาและความเชื่อหรือประเพณี ชาดกเรื่องนี้ให้คติว่า ความสัตย์ ความกตัญญูกตเวที แล้วความดีย่อมชนะความชั่ว ดังที่พระจันทกุมารโพธิสัตว์ มีความอดทน อดกลั้น ไม่โกรธกัณฑหาละพราหมณ์ แม้ว่าจะโดนกลั่นแกล้งและอาฆาตแค้นให้ถึงแก่ชีวิตก็ตาม

พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายจันทกุมาร  ทรงบำเพ็ญขันติบารมี

ขันติบารมี คือ มีความอดทนต่อสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ไม่พอใจ และไม่ย่อท้อต่อการปฏิบัติธรรม อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ และสามารถใช้สติปัญญาควบคุมให้อยู่ในอำนาจและเหตุผล และแนวทางความประพฤติที่ตั้งใจไว้เพื่อจุกหมายอันชอบ

bottom of page