top of page

หลวงปู่กงมา  จิรปุญฺโญ

วัดดอยธรรมเจดีย์ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ.jpg

ประวัติ

    หลวงปู่กงมา  จิรปุญฺโญ เดิมชื่อกงมา  วงศ์เครือสวน เกิดวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีชวด ณ บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของ นายบู่ นางนวล  วงศ์เครือสวน ซึ่งมีพี่ร่วมท้องเดียวกัน ๖ คน


    ในวัยหนุ่มมีร่างกายกำยำล่ำสันสูงใหญ่ใบหน้าคมคาย เป็นนักต่อสู้ชีวิตแบบเอางงานเอาการ สมัยหนึ่งได้เป็นนายฮ้อยต้อนวัว ควาย หมู เที่ยวขายตามจังหวัดใกล้เคียงกับบ้านเกิด จนต่อม่ได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้านายฮ้อย พาคณะนายฮ้อนต้อนสัตว์ไปขายถึงกรุงเทพฯ โดยอาศัยการเดินทางด้วยเท้ารอนแรมหลายเดือน การเป็นนายฮ้อยได้แสดงถึงความสามารถเฉพาะตัวของท่าน เช่น จดจำ ชำนาญ รู้ทิศทางดีหนึ่ง มีความสามารถอาจหาญป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดกับลูกน้องหนึ่ง มีคุณธรรมมีศีลธรรม รักษาคำสัตย์ มีความยุติธรรมหนึ่ง เป็นต้น


    การที่ท่านได้ท่องเที่ยวค้าขายไปในต่างถิ่นหลายที่มีประสบการณ์นำความเจริญเข้าสู่หมู่บ้านจนเป็นที่นับหน้าถือตาของคนในตำบลเป็นที่เชิดหน้าชูตาของพ่อแม่ เมื่อถึงกาลอันควรพ่อแมม่จึงได้ไปสู่ขอนางสาวเลา จัดพิธีแต่งงานให้มีครองครัวเมื่อท่านอายุได้ ๒๕ ปี (๒๕๖๘) ครั้นนางเลาตั้งครรภ์แก่ได้เกิดป่วยอย่างหนักสุดที่จะรักษาชีวิตไว้ได้ ในที่สุดนางเลาพร้อมบุตรในครรภ์ได้เสียชีวิตลง


    การสูญเสียภรรยาสุดที่รักพร้อมลูกในครรภ์ครั้งนี้ ทำให้ท่านรู้สึกได้หมดสิ้นทุกอย่างที่เคยหวังและตั้งใจ เพราะตลอดเวลาได้ตรากตรำทำงานเพื่อเมียและลูก นี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านนึกถึงพระพุธศาสนา มีผู้เฒ่าผู้แก่บอกอยู่เสมอว่า “ไม่มีอะไรดีเท่ากับการบวชพระ” การออกบวชเป็นพระจึงอยู่ในจิตสำนึกตลอดมา


    ด้วยจิตอันแน่วแน่ได้ตัดสินใจไปกราบลาพ่อแม่ ญาติพี่น้อง พร้อมแจกจ่ายสมบัติทั้งหลายให้แก่ญาติพี่น้อง พร้อมแจกจ่ายสมบัติทั้งหลายให้แก่ญาติพี่น้อง ทุกคนเห็นใจและไม่คัดค้านลูกคนสุดท้องคนนี้ ทรัพย์สมบัติที่ท่านมอบให้ครั้งนี้ก็จะเก็บรักษาไว้ เมื่อวันใดท่านสึกออกมาก็จะรักษาไว้ ทุกคนต่างคิดว่า การออกบวชเป็นทางออกที่ดีสำหรับบุคคลที่ประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้  

 
    หลวงปู่กงมา  จิรปุญฺโญ เป็นนักต่อสู้ชีวิต ต่อสู้กับกิเลส เมื่อยังเป็นฆราวาสก็เป็นฆราวาสที่มีคุณภาพที่มีประสบการณ์มีคุณธรรม เมื่อพบเคราะห์กรรมก็รู้จักเลือกสรรหาสาระให้กับชีวิตถือเพศเป็นบรรพชิตที่น่าเคารพนับถือ ทั้งในคราบของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและรรมยุติกนิกายได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการประพฤติดปฏิบัติจนมีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ มีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิก ศรัทธาเลื่อมใสในปฏิปทา ทำให้เกิดวัดอันเป็นสถานปฏิบัติธรรมขึ้นในวงของพุทธศสนามากมาย เกิดมีผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามหลักโอวาทของท่านสืบมาจนถึงทุกวันนี้โดยไม่ขาดสาย


    ท่านได้ชื่อว่า เป็นพระสุปฏิบัติ อุชุปฏิบัติ ญายปฏิบัติ สามีจิปฏิบัติ...และเป็นโลกบุญญเขต อย่างแท้จริง

โอวาทธรรม  

หลวงปู่กงมา  จิรปุญฺโญ เป็นพระปฏิบัติธรรมตามแนวของหลวงปู่มั่น ธรรมโอวาทมีดังนี้


    “คำว่าทุกข์ แม้จะนิดเดียวก็ไม่มีสัตว์โลกรายใดรัก ชอบ และปรารถนาต่างก็กลัวและขยะแขยงกันมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่หากจะมีก็อาจได้พบเห็นในสมัยปัจจุบันเพราะศีลธรรมที่เคยให้ความร่มเย็นเป็นของเก่าก่อนกลับคร่ำครึ ล้าสมัยความสุขที่เคยได้รับเป็นสันดาน จนลืมทุกข์ทรมานแต่เก่าก่อนไปสิ้น”
    “เราจะกลัวเสือ หรือเราจะกลัวกิเลส กิเลสมันทำให้เราตายนับพบนับชาติไม่ถ้วน เสือตัวนี้มันทำให้เราตายได้หนเดียว”
    “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...อนิจจัง...ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่สามารถจะอยู่ยงคงทนต่อไปได้ ย่อมดับย่อมสลายไปตามกาล พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่เที่ยงแท้แน่นอนไปได้...ทุกขัง...เมื่อมีสิ่งที่เกิดขึ้นมาในโลก แล้วเขาไปยึดถือว่าเป็นตัวตนของเราของเขายามจากไปยามดับไปสลายสิ้น สิ่งที่รักที่พอใจนั่นแหละ พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นทุกข์อย่างยิ่ง อนัตตา...ความจริงในโลกนี้ มันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมันเอง ไม่มีใครไปก่อเสริมเติมแต่งได้ถึงอย่างไรก็ยังเป็นธรรมชาติ แม้ร่างกายนี้จะยึดตัวตนว่าเป็นของเราของเขาไม่ได้ เพราะเขาเป็นเพียงธาตุ ๆ หนึ่งที่ประชุมกันเข้าเท่านัน พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา ทั้งสิ้น”
“การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตนคนอื่นทำให้ไม่ได้”
“เราต้องปฏิบัติให้รู้ยิ่ง เราต้องอาศัยในสิ่งเหล่านี้ เพื่อจิตเข้าสู่สมาธิจิตสงบอยู่ในอารมณ์มาเป็นพยานขององค์วิปัสสนาปัญญาให้เห็นชัดแจ้ง เป็นความสว่างของปัญญาผู้บริสุทธิ์ได้ต้องอาศัยปัญญานี่เอง ทั้งนี้วิปัสสนาปัญญาจึงต้องยึดเอาตัวสังขารเรานี้เป็นพยานในการปฏิบัติจึงจะรู้แจ้ง อย่ามองไปนอกตัวเหตุอยู่ที่นี่”
“ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ล้วนเป็นเพื่อเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้นทุกชีวิตเกิดมามีกรรมเป็นของ ๆ ตน”

 

นอกจากนี้หลักธรรมที่หลวงปู่กงมา  จิรปุญฺโญ ถือเป็นแนวทางปฏิบัติและสอนธรรมเป็นหลักธรรมที่หลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต ได้วางเอาไว้ หลวงปู่กงมา ก็จดจำได้อย่างขึ้นใจ คือ ธรรมะ ๑๑ ประการ ได้แก่
๑. การปฏิบัติทางใจ ต้องถือการถ่ายถอนอุปทานเป็นหลัก
๒. การถ่ายถอนนั้น ไม่ใช่การถ่ายถอนโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่ทำเฉย ๆ ให้มันถ่ายถอนเอง
๓. เหตุแห่งการถ่ายถอนนั้นต้องสมเหตุสมผล เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุธรรมดับไปเพราะเหตุพระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้
๔. เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอนอุปาทานนั้นมิใช่เหตุและไม่สมควรแก่เหตุต้องสมเหตุสมผล
๕. เหตุได้แก่สมมติบัญญัติขึ้น แล้วหลงตามอาการนั้น เริ่มสมมุติว่าตัวของตนก่อน พอหลงตัวของเราแล้วก็ไปหลงคนอื่นหลงว่าเราสวยแล้วจึงไปหลงผู้อื่นว่าสวยเมื่อหลงตัวของตัวและผู้อื่นแล้วก็หลงวัตถุข้างนอกจากตัวกลับกลายเป็นราคะ โทสะ โมหะ
๖. แก้เหตุต้องพิจารณากรรมฐาน ๕ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ด้วยสามารถแห่งกำลังของสมาธิเมื่อเป็นสมาธิชั้นสูงการพิจารณราก้เป็นญาณชั้นสูงแต่อยู่ในกรรมฐาน ๕
๗. การสมเหตุสมผล คือคันที่ไหนก็เกาที่นั่น จึงจะหายคัน คนติดกรรมฐาน ๕ หมายถึงหลงหนังเป็นที่สุด เรียกว่าหลงกันที่นี่ คือเมื่อกำลังสมาธิพอแล้ว พิจารณาก็เห็นความจริงเกิดความเบื่อหน่ายเป็นวิปัสสนญาณ
๘. เป็นการเดินตามอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ชาติปิทุกข์ ชราปิทุกข์ พยาธิปิทุกข์ มรณัมปิทุกข์ ใครเกิด ใครแก่ ใครเจ็บ ใครตาย กรรมฐาน ๕ เป็นต้น ปฏิสนธิเกิดมาแล้ว แก่แล้ว ตายแล้ว จึงได้ชื่อว่ากรรมฐาน ๕ อันเป็นทางพ้นทุกข์ เพราะพิจารณราตัวทุกข์ จริง ๆ
๙. ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน ๕ ยึดมั่นจึงเป็นทุกข์เมื่อพิจารณณาก็ละได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง สมคำว่า รูปสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญ์ญายปิ นิพฺพินฺทติ สงฺขาเรปิ นิพฺพินฺทติ วิญญาณสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เมื่อเบื่อหน่ายในรูป (กรรมฐาน ๕) เป็นต้น แล้วก็คลายความกำหนัด เมื่อเราพ้นเราก็ต้องมีญาณทราบชัดว่าเราพ้น
๑๐. ทุกขนิโรธ ดับทุกข์ เมื่อเห้นกรรมฐาน ๕ เบื่อหน่ายได้จริง ชื่อว่า ดับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เช่นเดียวกับท่านสามเณรสุมนะ ศิษย์ของท่านอนุราช พอปลงผมหมดศรีษะก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
๑๑. ทุกขคามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือการเป็นปัญญาสัมมาทิฐิ ปัญญาเห็นชอบเห็นอะไร เห็นอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธมัรค การเห็นจริง แจ้ง ประจักษ์ด้วยความสสามารถแห่งมัมมาฐิทิ ไม่หลงคติสุข มีสมาธิเป็นกำลัง พิจารณณากรรมฐาน ๕ ก็เป็นองค์มรรค

bottom of page