top of page

หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย

วัดกันตศิอลาวาส อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ประวัติ

    หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย กำเนิดในสกุล “จันศรีเมือง” เดิมท่านมีชื่อว่า “กลม” โยมบิดาชื่อ โพธ์ โยมมารดาชื่อ วันดี เกิดเมื่อวันพุธที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๙ ตรงกับปีวอก แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ร.ศ. ๑๑๕ ณ บ้านหนองฮี ตำลบปลาปาก อำเภอหนองบึก (อำเภอเมือง) ปัจจุบัน เป็นตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม มีพี่น้อง ๗ คน หลวงปู่เป็นลูกหล้า น้องน้อยสุดท้อง ด้วยฐานะทางครอบครัวที่ประกอบอาชีพชาวนา และมีพี่น้องหลายคน แม้จะมีใจรักในการศึกษา แต่ก็ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ จึงได้รับการศึกษาสามัญเบื้องต้น


    หลวงปู่พระอาจารย์กินรี  จนฺทิโย ได้ยึดมั่นถือปฏิบัติตามบูรพาจารย์ใหญ่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ทองรัตน์  กนฺตสีโล ที่อยู่อย่างสมถะเรียบง่าย ไม่เปิดเผยตน เก็ยตัว ไม่ชอบคนหมู่มาก ไม่มักมากไม่ต้องการความมีชื่อเสียง พูดน้อย ไม่ชอบเทศน์ถ้าไม่นิมนต์ให้เทศน์ หล่วงปู่อยู่อย่างสงบ ๆ เหมือนพระผู้เฒ่าไม่มีอะไรดี


    การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่กินรี เพียงวิธีการสังเกตดูกิริยาภายนอกนั้นยากที่จะเข้าใจเพราะกิริยาพฤติกรรมที่แสดงออกกับภูมิจิต ภูมิธรรมภายในนั้นเป็นคนละเรื่อง ดังคำปรารถของ พระอารย์ชา  สุภทฺโท ครั้นปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ ทั้งก่อนและหลังเดินธุดงค์สู่ภูลังกา นครพนม ได้กล่าวว่า ท่านเองทำความเพียรอย่างสาหัส เดินจงกรมทั้งวัน ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออกจนแผ่นดินทรุดทางเดินเป็นร่องลึกหลายต่อหลายร่องปฏิบัติมิได้หยุดหย่อน ยังไม่รู้ไม่เห็นอะไร แล้วท่านอาจารย์ปฏิบัติเพียงเดินจงกรมก็ไม่ค่อยเดินจะนั่งสมาธินาน ๆ ก็ไม่เห็นนั่ง คอยแต่จะทำนั่นทำนี่แล้วจะไปถึงไหนกันแล้วหลวงปู่ชา ได้กล่าวภายหลังว่า เรามันคิดผิดไปท่านพระอาจารย์ทำความเพียรขั้นอุกฤกษ์มากต่อมากหลายต่อหลายปี รู้อะไรมากกว่าเราเป็นไหน ๆ คำเตื่อนสั้น ๆ ห้วน ๆ แม้จะนาน ๆ ครั้ง แต่ก็เป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิดไม่เคยเห็นมาก่อน อุปมาเหมือนแสงจันทร์กับแสงเทียน การปฏิบัติแท้ ๆ นั้นไม่ใช่กิริยาอาการภายนอก ไม่ใช่การเดินด้วยเท้า ไม่ใช่การนั่งสมาธิ มิใช่ศึกษาจากตำราตัวหนังสือ มิใช่เพียงคำพูดและมิใช่สิ่งที่จะยกเป็นตัวเปปป้นตนได้ แต่การปฏิบิภาวนาที่แท้จริงนั้นเป็นกิริยาภายใน เป็นอาการภายใน เป็นการปฏิบัติทางใจ นั่งนิ่งอยู่ที่จิต ทำอารมณ์ให้นิ่ง ทำจิตให้นิ่ง มีสมาธิเป็นหนึ่งอยู่ทุกขณะจิต ตลอดภาวนา ทุกเวลาทุกอิริยาบท แม้การทำกิจอันใด ฉะนั้นการจะไปจับเอาการกระทำด้วยการนั่งสมาธิการเดินจงกรมของคราอาจารย์นั้นไม่ได้และถูก


    หลวงปู่กินรี เป็นพระที่ยึดมั่นในศีลธรรม อบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในศีลแม้สิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ ในพระวินัยจะประมาทมิได้เด็ดขาด แม้เพียงการตากผ้าสบงจีวรแล้วมิได้เฝ้าดูรักษา หลวงปู่ก็ตำหนิพระลูกศิษย์ว่าประมาทในสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ การเป็นสมณะต้องเป็นผุ้มักน้อย สันโดษ เป็นอยู่ง่าย ๆ กินแต่น้อยมีทรัพย์สิ่งของน้อยและไม่สะสม จงต้องทะนุถนอมรักษาใช้ให้นาน ๆ เป็นผู้ไม่สิ้นเปลืองมาก ถ้าใช้สุรุ่ยสุร่าย แสดงถึงการขาดสติในการประคับประคองตัวให้อยู่ในครอบร่องรอยของสมณะ แล้วจะมีอะไรเป็นเครื่องมือปฏิบัติภาวนา สตินันั้ต้องมั่นคง และต่อเนื่องด้วยการสังวรระในวินัยสิกขาบท สติเราก็จะมั่งคงต่อเนื่อง ถ้าขาดวินัยย่อมขาดสติ จิตจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงใหลมัวเมา การมีสติอยู่กับข้อวัตรพระวินัย ย่อมเป็นเครื่องกั้นอามรมณ์ทั้งปวงและทำให้สติต่อเนื่อง จิตใจย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิจิตตลอดกิริยาบถ คำสอนของหลวงปู่จึงเป็นคำสอนที่ง่าย ๆ เป็นการสอนด้วยข้อปฏิบัติและการกระทำทันที


    หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย ท่านเป็นคนพูดน้อย แต่ละคำที่พูดจึงมีแต่ความบริสุทธิ์และจิรงใจ ท่านยึดถือคติธรรม “สติโลกสฺมิ ชาคโร”  สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่เสมอ จงเอาสติตามรักษาจิตไว้ เพราะคนมีสติย่อมประสบแต่ความสุข จะพูดจะคิดจึงควรมีสติทุกเมื่อ ท่านมักจะอยู่คนเดียวไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ พยายามให้พระในวัดมีการร่วมกันน้อยที่สุด ให้เร่งทำความเพียรอย่าได้อยู่ด้วยความเกียจคร้าน อย่าเป็นผู้พูดมาก เอิกเกริกเฮฮาไม่จำเป็นท่านจะไม่ประชุมกัน แม้การสวดมนต์ทำวัตรยังให้ทำร่วมกันสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตนเองอยู่แล้ว ให้อยู่คนเดียวทำคนเดียวมาก ๆ จิตจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มาก โดยเฉพาะเตือนลูกศิษย์ให้อยู่ในป่าช้าให้มาก อานิสงฆ์ของการอยู่ในป่าช้าให้จิตใจกล้า องอาจจิตตื่นอยู่เสมอพิจารณณาข้อธรรมได้ถี่ถ้วนเพราะจิตปราศจากนิวรณ์


    หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย เคยอยู่กับหลวงปู่เสาร์นานถึง ๖ ปี อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ๒ ปี และอยู่กับหลวงปู่ทองรัตน์ ๔ ปี หลังจากนั้นได้กราบคารวะบูรพาจารย์ให้ทั้งสามอยู่เนืองนิจ ท่านได้กล่าวกับพระอาจารย์ชา จึงประกาศประดิษฐานพระพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติธรรม ขยายไปยังทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ชีวิตบั้นปลายของหลวงปู่กินรี  จนฺทิโย ทุกสิ่งทุกอย่างคือปกติพูดน้อย เก็บตัว อยู่เรียบง่าย หยุดการเดินทาง หยุดการธุดงค์ มีนาน ๆ ครั้งจะไปเยี่ยมพระอาจารย์ชา ผู้เป็นศิษย์ที่วัดหนองป่าพง ด้วยลักษณะนิสัยต้องการอยู่ลำพัง อยู่คนเดียว ไม่เปิดเผยตัว จึงไม่มีผู้ใดที่จะเคยได้ยินคำพูดที่จะเป็นไปในทางโอ้อวดการมีดี การอวดคุณธรรมวิเศษจากหลวงปู่ ท่านสมณธที่สงบเสงี่ยมเจียมตน จึงไม่อุดมด้วยศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาส หลวงปู่ชา สุภทฺโท จึงส่งพระลูกศิษย์ ๒ รูปมาอุปัฎฐากดูแลท่าน


    หลวงปู่มีโรคประจำตัว คือ ไออยู่เป็นนิจ เนื่องจากเกี่ยวกับปอดชื้น แต่ไม่ยอมให้หมอรักษาไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะอาการหนักหรือไม่หนัก ท่านจะไม่ยอมให้ใครนำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเด็ดขาด อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด จนกระทั่งวันพุธ ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก หลวปู่จึงได้ละสังขารจากพวกเราไป สิริรวมอายุ ๘๔ ปี ๗ เดือน ๑๖ วัน ๕๘ พรรษา

โอวาทธรรม  

     หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย กลับมาพำนักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวก แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส แม้ว่าปฏิปทานของหลวงปู่จะไม่นิยมและเผยแพร่ศ่าสนาด้วยการเทศนาเชิงโวหารหรือคำพุด หลวงปู่เป็นตัวอย่างของการทำให้ดูปฏิบัติให้เห็นมากกว่าแต่อุบายธรรมคำสั่งสอนของท่านทรงปัญญษและลุ่มลึกมาก เช่น
-    เตือนและให้สติหลวงปู่ชา ผู้เป็นลูกศิษย์ที่จะขอลากลับสู่บ้านเกิดว่า “ระวังให้ดีถ้าท่านรักใครคิดถึงใครเป็นห่วงใครผู้นั้นจะให้โทษแก่ท่าน”
-    ให้รักษาศีลให้ดี ทำความเพียรให้มาก มันก็จะรู้เองเห็นเอง เป็นคำสอนที่หลวงปู่บอกลูกศิษย์เสมอ
-    สตินี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราทราบระเบียบวินัยที่มีอยู่มากมายอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว และตามรักษาได้อย่างครบถ้วน สติของเราก็จะต่อเนื่องกัน จิตใจก็จักจดจ่ออยู่ในข้อวัตรปฏิบัติของตน ไม่มีโอกาสที่จะแส่ส่ายไปภายนอก ถ้าขาดสติ โอกาสที่จิตใจก็จะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอกมันก็จะมีมากขึ้น และอารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงไหลมัวเมาได้ง่ายขึ้น
-    ไม่ควรคลุกคลี ให้อยู่คนเดียวมาก ๆ สาธยายด้วยตัวเองให้มาก มีจิตใจที่กำหนดจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มากนี้เป็นการดีทึ่สุด
-    สังขาร คือ ร่างกาย จิตใจนี้เป็นของไม่เที่ยง และจะหาสาระแก่นสารอะไรโดยมิได้ด้วยประการทั้งปวง
-    จะให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำดีให้ลูกดู
-    บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์ 
-    ผู้ขยันในหน้าที่ การงานไม่ประมาทเข้าใจการเลี้ยงชีวิต ตามสมควรจึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
-    คนโกรธที่วาจาหยาบ
-    วาจา เช่น เดียวกับใจ
-    ธรรมเป็นของแน่นอน แต่รูปเป็นของไม่แน่นอน
-    กิเลสคือตัวมารอันร้ายกาจ แม่น้ำเสมอด้วยความไม่มี
-    ความอยากไม่มีขอบเขต ความอยากย่อมผลักดันให้คนวิ่งวุ่น
-    โลกถูกความอยากนำไป ความอยากเป็นแดนเกิดของความทุกข์

หลวงปู่กินรี จนฺทิโย.jpg
bottom of page