top of page

หลวงปู่ขาว อนาลโย

วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง วัดหนองบัวลำภู

ประวัติ

หลวงปู่ขาว  อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง วัดหนองบัวลำภู นามเดิมของท่านชื่อ ขาว  โคระถา เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๑๐ ค่ำเดือนอ้าย ปีชวด ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ โยมบิดาชื่อ พั่ว โยมมารดาชื่อ รอด โคระถา ท่านมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นคนที่ ๔ อาชีพหลักของครอบครัวคือ ทำนาและค้าขาย เมื่อหลวงปู่ขาวยังอยู่ในวัยหนุ่มแน่นก็ดำรงชีพตามวิสัยของฆราวาสทั้งหลาย เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้จัดให้มีครอบครัว ภรรยาของท่านชื่อ นางมี และได้มีบุตรด้วยกัน ๓ คน ท่านพระอาจารย์มหาบัวเล่าว่า หลวงปู่ขาว มีนิสัยเด็ดเดี่ยวเอาจริงเอาจังมาก มาตั้งแต่เป็นฆราวาส เมื่อบวชแล้วนิสัยเอาจริงเอาจังจึงติดตัวมา ยิ่งบวชในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาจริงที่สอนให้คนทำจริงในสิ่งที่ควรทำด้วยแล้ว ท่านยิ่งรู้สึกซาบซึ้งในหลักธรรมมากขึ้นโดยลำดับ เกี่ยวกับอาชีพการงาน เมื่อครั้งหลวงปู่ยังเป็นฆราวาส ท่านพระอาจารย์มหาบัวได้เรียบเรียงเป็นคำพูดของหลวงปู่ไว้ในคำถามคำตอบปัญหาธรรม ในหนังสือ “อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ” ของหลวงปู่ ดังนี้ “อันว่าสกุลสูงสกุลต่ำนั้น บรรดาสัตว์โลกผู้อยู่ใต้อำนาจกฎแห่งกรรม ย่อมมีทางเกิดได้ด้วยกัน อย่าว่าแต่ปู่คนเดียวเลย แม้แต่ภพชาติสูงต่ำนั้นเป็นสายทางเดินของสัตว์โลก พรุ่งนี้กำจำต้องเดินต้องผ่านเหมือนกันหมด คนมีวาสนามากกว่าผ่าน คนมีวาสนาน้อยก็ผ่าน พบกำหนดสกุลต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว เช่นหลานเป็นพระเจ้าฟ้าเจ้าคุณมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ร้านจากที่นี้ไปกรุงเทพฯ ด้วยเท้าก็ดี ด้วยรถยนต์รถไฟก็ดี ด้วยเรือหัวเรือบินก็ดี ร้านจำต้องผ่านดิน ฟ้า อากาศ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ที่สูง ๆ ต่ำ ๆ ซึ่งมีอยู่ตามรายทางเรื่อยไปจนถึงจุดที่หมายคือกรุงเทพโดยไม่อาจสงสัย” 


“การเกิดในสุกลสูง ๆ ต่ำ ๆ ตลอดภพชาติต่าง ๆ กันนั้น สัตว์โลกก็ตามวาระกรรมของตนมาถึง แม้จะทรงบุญหนักศักดิ์ใหญ่ แต่เมื่อถึงวาระกรรมของตนที่ควรจะเสวยอย่างไรก็จำต้องเสวยตามรายทาง คือภพชาตินั้น ๆ เท่าที่ปูมาเกิดในสกุลชาวนาปลุกก็ไม่เสียอกเสียใจไม่น้อยนัดทำใจ เพราะปู่ถือว่าปู่มาเกิดมาตามวาระกรรมของปู่เองปู่จะไม่ตำหนิติเตียนบิดามารดาผู้ให้กำเนิด ตลอดญาติมิตรพี่น้องที่เกิดร่วมและใกล้ชิดสนิทกันว่ามาให้โทษปู่ มันเป็นกรรมของใครของเรา ดังธรรมท่านสอนไว้ไม่มีผิด ไม่มีที่คัดค้านปู่ยอมรับธรรมท่านยังสนใจไม่มีวันถอนเลย”


“สกุลชาวนานั้นมันต่ำต้อยที่ตรงไหน คนทั้งโลกได้อาศัยข้าวในท้องนาของชาวนาตลอดมา จึงพยุงชีวิตร่างกายมารอดมิใช่หรือ ที่ถูกต้องตามความจริง ควรชมเชยว่า สกุลชาวนาคือสกุลเลี้ยงโลก คือสกุลพ่อสกุลแม่ของมนุษย์ทั้งโลก ด้วยความเป็นคนกตัญญูรู้บุญรู้คุณของสิ่งเลี้ยงดูของผู้เลี้ยงดู แล้วสกุลชาวนานั้นต่ำที่ตรงไหนลองว่ามาซิ...ถ้าตำหนิว่าเขาต่ำจริง เราคนสกุลสูงและสูง ๆ ก็อยากกินข้าวและเผือกมันของเขาซิ มันจะเสียเกียรติของคนลืมตน เย่อหยิ่ง ปล่อยให้ตายเสียจะได้ไม่หนักโลกของชาวนาที่หาข้าวมาให้กิน กินแล้วไม่รู้จักบุญคุณ”


“ คราวเป็นฆราวาสมันก็คิดบ้า ๆ เหมือนโลกตื่นลมเขาเหมือนกัน ว่าตนเป็นลูกชาวนาวาสนาน้อย คิดอยากเป็นเจ้าเป็นนนายกับเขาเหมือนกัน อย่างน้อยไปเป็นครูสอนนักเรียนก็ยังดีแต่เราคนจนหาเลี้ยงแม่ เลี้ยงน้อง พอรู้สึกตัวว่ามีฐานะยากจนไม่มีเวลาเรียนและไม่มีทุนเรียนหนังสือ ดังนี้แล้วก็หยุดคิด หยุดกังวลใจกับเรื่องนี้ พอมาบวชปฏิบัติธรรมไปเรื่อย ๆ ความรู้สึกกับธรรมเริ่มซึมซาบเข้าถึงกันวันละเล็กละน้อย ความที่เคยคิดว่าตนเป็นคนอาภัพวาสนาเป็นลูกชาวนาก็ค่อย ๆ หายไป ๆ จนกลายเป็นความรู้สึกว่า จะเกิดในสกุลใดก็คือสกุลมนุษย์ ที่ต้องตะเกียกตะกายหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเพื่อความอยู่รอดเหมือน ๆ กันไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าทุกวันนี้ซึ่งแก่มากแล้ว มันเลยมีความรู้สึกไปคนละโลกแล้วรู้สึกไปในแง่ที่รู้เขาไม่ค่อยคิดหรือไม่คิดกันเสียแล้วทุกวันนี้”


เมื่ออายุของหลวงปู่มากขึ้น ก็ให้เกิดความเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่และความวุ่นวายต่าง ๆ ของทางโลก จิตใจให้รุ่มร้อนอยากจะหาที่สงบ เพื่อทำจิตให้เงียบสงัด ผลจากความวุ่นวายทั้งหลายชีวิตในทางโลกของหลวงปู่ไม่ค่อยราบรื่นนัก เหตุการณ์สำคัญอันหนึ่ง ท่านพระอาจารย์มหาบัวได้เรียบเรียงเป็นคำพูดของหลวงปู่สอนหลานไว้ดังนี้ 


“ปู่จะพูดตรงไปตรงมาและสรุปความย่อ ๆ เลยนะหลาน เดิมปู่เป็นคนขยันขันแข็งรับผิดชอบต่อครอบครัวอย่างจริงใจ แต่การทำมาหาเลี้ยงครอบครัวไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าที่อยากให้เป็น ขัด ๆ เขิน ๆ ซึ่งทำให้ปู่คิดสงสารครอบครัวอยู่ไม่วาย จึงคิดและตัดสินใจลงไปรับจ้างทำนาทางภาคกลางพอได้เงินแล้วก็กลับมาบ้าน แต่เจ้ากรรมมาเจอเมียมีชู้ ตอนนี้ปู่เกือบเสียคนไปทั้งคนอย่างไม่คาดฝัน”
“ก็มาเจอเมียกำลังเริงรักหักสวาท อยู่กับชายชู้อย่างตำตาละซิหลาน ใครจะทนได้ปู่จนเกือบเสียคนไป คือขณะนั้นเองขณะที่ปู่แอบอ้อมมาดูตามคำบอกเล่าของชาวบ้านเวลาเงียบ ๆ ดึกสงัดพร้อมกับดาบอันคมกริบอยู่ในมือ เงือดเงื้อดาบสุดแรงเกิด จะฟาดฟันลงให้ขาดสะบั้นไปทั้งเมียทั้งชายชู้ แต่เผอิญชายชู้มองเห็นก่อน ยกมือขึ้นไหว้ปู่จนตัวสั่นเทา ๆ ขอชีวิตไว้ พร้อมทั้งยอมสารภาพความผิดที่ทำลงไปทุกอย่าง ขณะจิตสะดุดขึ้นเตือนว่าเขายอมแล้วอย่าทำ ๆ จะเป็นความเสียหายเพิ่มเข้าอีกหรือไม่มีผลดีอะไรเกิดขึ้นเลย ประกอบกับใจเกิดความสงสารชายชู้ผู้กลัวตายสุดขีด ใจเลยอ่อนลง แล้วเรียกร้องให้ชาวบ้านมาดูเหตุการณ์ในขณะนั้นจนหายสงสัยในข้อเท็จจริงทั่วกัน แล้วประชุมญาติและผู้ใหญ่บ้านจะเอาเรื่องอย่างหนัก ชายชู้ยอมรับทุกอย่างจึงปรับไหมด้วยเงินพร้อมกับประกาศยกเมียให้ชายชู้นั้นอย่างเปิดเผยในชุมนุมชน ตัดกรรมตัดเวรหายห่วงไปเสียที หลังจากนั้นมีแต่สลดสังเวชใจเป็นกำลังคิดเรื่องอะไรในโลกไม่มีความลงใจ ติดใจที่จะทำที่จะอยู่แบบโลกเขาอยู่กันต่อไป ใจหมุนไปทางบวชเพื่อหนีโลกอันโสมมนี้ให้พ้นมันโดยถ่ายเดียว อย่างอื่นใจไม่ยอมรับเลย มีการออกบวชหนีโลกเพื่อความพ้นทุกข์ปณิธานตามเสด็จพระพุทธเจ้าพระสาวกท่านอย่างเดียวเท่านั้น เป็นที่ลงใจและสมัครใจอย่างเต็มที่ไม่มีอะไรมาขัดแย้ง ปู่จึงได้มาบวชและปฎิบัติธรรมอย่างถึงใจเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ นี่แลสาเหตุที่จะให้ปู่ออกบวชอย่างรวดเร็ว เพราะความสังเวชเบื่อหน่ายประทับใจปู่จริงและตอนนี้แลเป็นตอนที่ปู่บวชด้วยศรัทธาความอยากบวชจริง ไม่มีอะไรจะห้ามไว้ได้ เนื่องจากความเบื่อหน่ายในเหตุการณ์ที่ประสบมาและคิดกว้างขวางเท่าไหร่ก็ยิ่งเกิดความเบื่อหน่ายมากขึ้นถึงกับต้องบวชดังใจหมาย”


การที่จะพรรณนาถึงเมตตาธรรมและตปธรรมของหลวงปู่ขาวแล้วน่าจะไม่มีที่ไหนจะบรรยยได้ดีเท่าที่ท่านพระอาจารย์มหาบัว  ญาณสมฺปนฺโน บรรยายไว้ใน หนังสือ “ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ” หน้า ๑๕๔-๒๓๖ ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า “ท่านอาจารย์องค์นี้มีความเด็ดเดี่ยวมาก ...การนั่งภาวนาตลอดสว่างท่านทำได้อย่างสบาย... ถ้าไม่เป็นผู้มีใจกล้าหาญกัดเหล็กกัดเพรชจริง ๆ จะทำไม่ได้ จึงขอชมเชยอนุโมทนาท่านอย่างถึงใจ...ท่านเป็นที่แน่ใจในองค์ท่านเองร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่าเป็นผู้สิ้นภพสิ้นชาติอย่างประจักษ์ใจทั้งที่ยังครองขันธ์อยู่” และมีความอีกตอนหนึ่งว่า “พระอาจารย์องค์นี้ป็นพระที่พร้อมจะยังประโยชน์แก่โลกผู้เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ไม่มีความบกพร่องทั้งมารยาทการแสดงออกทังอาการ ทั้งความรู้ภายในที่ฝังเพรชน้ำหนึ่งไว้อย่างลึกลับยากจะค้นพบได้อย่างง่ายดาย ถ้าไม่รอดตายก็ไม่อาจรู้ได้ ฌพาะองค์ท่าน ผู้เขียนลอบขโมยถวายงานท่านว่า เพรชน้ำหนึ่งในวงกรรมฐานสายท่านอาจารย์มั่น มาเกือบ ๓๐ ปีแล้ว โดยไม่กระดากอายคนหาว่าบ้าเลย เพราะเกิดจากศรัทธาของตัวเอง”


    สุดท้ายขอนำข้อเขียนของคุณหมออวย  เกตุสิงห์ ในภาคผนวกของหนังสืออนาลโยวาทความว่า “วันหนึ่งมีชายแปลกหน้าผู้หนึ่งวัยฉกรรจ์ ปรากฏกายขึ้นที่วัด และขอเข้านมัสการท่านอาจารย์ พอได้พบก็เข้าไปกราถึงที่เท้า แล้วเอ่ยปากขอบพระคุณที่ท่านช่วยเขาให้พ้นจากโทษมหันต์ ทุกคนงงงันไปหมด เพราะไม่เคยเห็นผู้นั้นมาก่อน ท่านอาจารย์นั่งฟังโดยดุษณียภาพ ชายนั้นเล่าว่า เขาเป็นทหารไปรบที่ประเทศลาวอยู่เป็นเวลานาน พอกลับมาบ้านก็ได้รู้เรื่องว่าภรรยานอกใจ เขาโกรธแค้นมาก เตรียมปืนจะไปยิงให้ตายทั้งชายชู้ด้วย ได้ไปแวะร้านเหล้า ดื่มจนเมาหลับไปแล้วก็ฝันว่า มีพระแก่องค์หนึ่งมาขอบิณฑบาตรความอาตมาโกรธแค้น และเทศน์ให้ฟังถึงบาปกรรมของการฆ่า จนชายนั้นยอมยกความพยาบาทให้ และถามพระนั้นว่าท่านชื่ออะไรมาจากไหน พระบอกว่าเราชื่อขาวมาแต่เมืองอุดรฯ พอตื่นชายนั้นก็ตัดสินใจออกเดินทางมาเสาะหาท่านอาจารย์ จนได้พบที่วัด ท่านอาจารย์อนุโมทนาแล้วอบรมต่อไปให้เข้าใจหลักกรรม ตลอดผลของการงดเว้นจากการฆ่า ทำให้ชายผู้นั้นซาบซึ้งในรสพระธรรม จนตัดสินใจที่จะอุปสมบทต่อไป เรื่องนีเป็นหลักฐานว่า ความเมตตาของท่านอาจารย์เป็นเรื่องจริงเพียงใด และกินอาณาบิเวณได้กว้างขวางเพียงใด ถ้าไม่เกิดเหตุที่เล่านี้ก็คงไม่มีใครรู้ความจริง”


    อนุสรณ์สถานท่ถือว่าสำคัญที่สุดของหลวงปู่ขาวน่าจะได้อก่วัดถ้ำกลองเพล อันเป็นสถานที่ที่หลวงปู่พำนักจำพรรษามาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๑ จนกระทั่งมรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ วัดถ้ำกลองเพลมีเนื้อที่กว้างใหญ่มาก (ประมาณพันกว่าไร่) ส่วนใหญ่ป็นป่าร่มรื่นตั้งอยู่บนที่ลาดสันเขา มีโขดหินก้อนหินขนาดใหญ่มากมาย ป่าโขดหินและเพิงผาเป็นธรรมชาติที่สวยงามมาก ด้านหลังเป็นอ่างเก็บน้ำชื่อ อ่างอาราม เป็นโครงการชลประทานพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จุดเด่นของวัดถ้ำกลองเพลคือ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่ขาว  อนาลโย สร้างเสร็จตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๑ เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะสวยงามควรแก่การศึกษาและเคาระบูชาเป็นอย่างยิ่ง “ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ”

โอวาทธรรม  

 ธรรมโอวาทของหลวงปู่ขาวได้รับการรวบรวมจากเทปบันทึกเสียงโดยคุณหมออวย  เกตุสิงห์ ไว้ในหนังสือ “อนาลโยวาท” ซึ่งมีทั้งหมด ๒๓ กัณฑ์ คือ กัณฑ์ที่ ๑ ถึง ๒๒ เป็นธรรมเทศนาของหลวงปู่ ส่วนกัณฑ์ที่ ๒๓ ซึ่งเป็นกัณฑ์พิเศษเป็นของพระอาจารย์จันทา  ถาวโร บรรยายเกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐานกับหลวงปู่ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการปฏิบัติธรรมได้ศึกษาค้นคว้า


    ส่วนคติธรรมต่าง ๆ จากวัดถ้ำกลองเพล คุณหมอสุเมธ  นราประเสริฐกุล ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ “พระธรรมเทศนา พระคุณเจ้าหลวงปุ่ขาว  อนาลโย” ซึ่งรวมเอากัณฑ์ที่ ๑ ถึง ๒๒ จากหนังสืออนาลโยวาทเข้าไว้ด้วย


    ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศานาของหลวงปู่ที่ได้เทศน์โปรดพระเณรและญาติโยมบ้านบ่อชะเนง (ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน)


    “จนก็จนลืมตาย ทำไมเกิดมาไม่เหมือนกันล่ะ ไม่เหมือนกันคือความประพฤติผู้นี้เขาประพฤติดี เขามีการรักษษศีล มีการให้ทาน มีการสดับรับฟัง เขาจึงมีปัญญาดี มีการศึกษาเล่าเรียนดี อยู่ไหนก็มีแต่กรรมดี เท่านั้นแหละ กรรมจำแนกสัตว์ให้ดีให้ชั่วจ่าง ๆ กันมันเป็นเพรคาะกรรม พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์ว่าตายแล้วสูญหรือตายแล้วเกิดอีก ถ้ามันยังทำกรรมอยู่ก็ต้องไปรับผลกรรมทั้งกรรมดีกรรมชั่ว มันต้องได้รับผลตอบแทน ครั้นทำแล้วจะไม่ได้รับผลตอบแทนนั้นไม่มี คิดดู เหมือนเขามายืมปัจจัยเราไป ยืมแล้วเขาก็ต้องตอบแทน ครั้นไม่ตอบแทนก็ต้องเป็นถ้อยเป็นความกัน ทำแต่ความเดือดร้อน เขาจะต้องตอบแทนทุกสิ่งทุกอย่าง คิดดูเหมือนพวกเราเหมือนกัน ทำกรรมกันอยู่ผู้นั้นก็ต้องตอบแทนเรา ทำดีผลดีก็ตอบแทน ทำชั่วผลร้ายก็ตอบแทนเราให้ได้รับความลำบาก มันตอบแทนกันอยู่อย่างนั้นเพราะเหตุนั้นพวกเราควรทำให้เป็นกุศลควรรักษาศีลให้สมบูรณ์ ศีลสมบูรณ์แล้วเราก็อบรมทำสมาธิต่อไป มันจะมีความสงบสงัดมันจะรวม มันขัดข้องก็ที่อาการของศีลเราอย่างใดอย่างหนึ่ง มันผิดพลาดมันขัดข้องมันจึงไม่รวม ถ้าศีลไม่บริสุทธ์ก็เหมือนกัน การรักษาศีลเหมือนกับการปราบ (ปรับ) พื้นที่ที่เขาจะปลูกบ้านปลูกช่อง เขาก็ต้องปราบ (ปรับ) พื้นทีเสียก่อนเขาจึงปลูกลงไป อันนี้ฉันใดก็ดี ถ้าพวกเรารักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้วเหมือนปราบพื้นที่ จิตมันจึงไม่มีความเดือนร้อน จิตมันจะรวมอยู่เพราะมันเย็นราบรื่นดีมันเรียบไม่มีลุ่มดอน พากันทำไป อริยาบถทั้งสี่ นั่ง นอน ยืน เดิน พระพุทธเจ้าไม่ห้าม แล้วก็ไม่ใช่เป็นของหนัก ของเบา เลือกในใจจะเอาอะไรก็ตาม แล้วแต่ความถนัดแล้วแต่จริตของเรา มันถูกกับจริตอันใดมันสะดวกใจสบายใจ หานใจดี ไม่ขัดข้องฝืดเคือง อันนั้นควรเอาเป็นอารมณ์ของใจ พฺทฺโธ พฺทฺโธ หมายความว่าให้ใจยึดเอาพฺทฺโธเป็นอารมณ์เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก อารมณ์ภายนอกมันก็ไปจดจ่ออยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสความถูกต้องทางกาย ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็ไปจดจ่ออยู่ที่นั่น จิตมันไม่ลง นี่แหละเรียกว่ามาร เรียกว่ามารคือไม่มีสติ อย่าให้มันไปคอยควบคุมไว้ ให้มาอยู่กับผู้รู้ ให้มาเอาพระพุทธเจ้าเป็นอามรมณ์ หรือจะเอาพระธรรมเป็นอามรมณ์ธัมโม ธัมโม ก็ตาม สังโฆก็ตาม หรืออัฐิ ๆ กระดุก ๆ ก็ตาม ระลึกอยู่นั่งก็ตามใจนอนก็ตามใจ เดินอยู่ก็ตาม เอามันอยู่อย่างนั้น หลับไปแล้วก็แล้วไป นั่นเป็นของไม่เหน็ดไม่เหนื่อย พระพุทธเจ้าก็ว่าอยู่ ผู้ที่ภาวนาจิตสงบ ลงชั่วช้างพับหู งูแลบลิ้น ชั่วไก่กินน้ำหนึ่งอานิสงส์อักโขอักขังตั้งใจทำไป มันลงไปบางครั้ง ลงไปมี ๓ ขั้นสมาธิ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิเรคาบริกรรมไป พุธฌธก็ตามอะไรก็ตาม จิตสงบไปสบายไปสักหน่อยมันก็ขึ้นมา ก็คิดไปอารมณ์เก่าของมันนี่ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิลงไปนานหน่อยก็ถอนขึ้นมาไปสู่อารมณ์อีก ภาวนาอยู่ไป ๆ มา ๆ อย่าหยุดอย่าหย่อน แล้วมันจะค่อยเป็นไปหรอก ทำไป ทำไป จะให้มันเสียมันไม่เสีย เป็นก็ไม่ว่าไม่เป็นก็ไม่ว่าแล้วแต่เขา อย่าไปนึก อันเรื่องเราทำทุกสิ่งทุกอย่างมีกรรมอะไรก็ตาม เราก้จะเอาเนื้อและเลือดและชีวิตจิตใจถวายบูชาพระพุทธเจ้า ถวายบูชาพระธรรม ถวายบูชาพระสงฆ์ต่างหาก ความอยากนี้พึ่งเข้าใจว่านั่นแหละหน้าตาของตัณหา อยากให้มันเป็น อยากให้มันลงโดยเร็ว อันนี้แหละนิวรณ์ตัวร้าย ให้ตั้งใจว่า ไม่เป็นก็ไม่ว่าหรอก เราจะเอชีวิตจิตใจถวายบูชาพระพุทธเจ้า บูชาพระธรรม บูชาพระสงฆ์ตลอดวันตาย นี่ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เราอยากนั่นก็เป็นตัณหายืนขวางหน้าอยู่จิตจึงไม่ลง

หลวงปู่ขาว อนาลโย.jpg
bottom of page