top of page

หลวงปู่คำดี  ปภาโส

วัดถ้ำผาปู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย

ประวัติ

หลวงปู่คำดี  ปภาโส เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๕ ตรงกับแรม ๑๔ ค่ำ ปีขาล ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ของนายพร-นางหมอก  นินเขียว เกิดที่บ้านหนองคู ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดากัน คือ ชาย ๓ คน หญิง ๓ คน รววม ๖ คน
    หลวงปู่คำดี เมื่อเป็นเด็กท่านไม่ได้เข้าเรียน เพราะสมัยนั้นตามชนบทบ้านนอกไม่มีโรงเรียน ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนเมื่อเติบโตเป็นผุ้ใหญ่แล้ว โยเข้าเรียนโรงเรียนผู้ใหญ่จบชั้นประถมปีที่ ๔ บริบูรื ในสมัยที่ท่านยังเป็นเด็ก เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนและมีจิตใจเลื่อมใสในทางพระพุทธศาสนาตลอดมา ท่านนึกอยากจะบวชมาตลอด เมื่ออายุพอบวชเป็นสามเรรได้ ท่านขออนุญาติโยมบิดา มารดา บวชแต่ไม่ได้รับอนุญาต กลับบอกว่า เอาไว้อายุครบบวชเป็นพระแล้วค่อยบวชทีเดียวเลย เพราะตอนนี้ทางบ้านกำลังต้องการให้อยู่ช่วยทำงานก่อน ท่านก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียรด้วยความอดทนมาตลอด จนกระทั่งอายุครบ ๒๒ ปีบริบูรณ์ จึงได้ขออนุญาตบิดาและมารดาของท่านบวชอีกครั้งนึง ครั้งนี้จึงยินดีอนุญาตให้ท่านบวชได้ตามต้องการ ท่านดีใจมาก เพราะสมใจที่คิดไว้ ท่านพูดว่าสมัยท่านเป็นเด็กมองเห็นภูเขาเขียว ๆ ที่ใกล้บ้านท่าน เป็นสถานที่ที่เหมือนว่าเคยอาศัยอยู่มาแต่ก่อนแล้ว และคิดว่าบวชครั้งนี้แล้ว คงจะได้ไปอยู่อาศัยทำความเพียรแน่ เกิดความปิติ และเกิดความชื่นใจตลอดเวลา

โอวาทธรรม  

 ท่านมักจะอบรมลูกศิษย์ของท่านอยู่เสมอ ๆ ว่า “เรามีตาเท่ากับว่าไม่มีตา มีหูเท่ากับว่าไม่มีหู มีท้องก็ฉันอยู่ได้ไปวัน ๆ เท่านั้น ไม่ต้องแสดงความโลภและตะกละ” ให้พากันสำเนียกไว้เรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลง จะต้องมีด้วยกันทุกคนถ้าพูดถึงความโลภ เมื่อมันมีเจตนาบรรดาลเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะมืด ไม่รู้จักบาปบุญ ไม่กลัวคุกกลัวตะราง อันนี้เรรียกฤทธิ์ของมัน ท่านจงให้ระวังดี ๆ ในเรื่องของสามประการนี้ท่านสอนว่า อย่าไปปรุงแต่งตามมัน ให้มีสติรู้เท่าทันมัน เมื่อเราปฏิบัติได้อย่างนี้แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลง เหล่านี้ก็จะเสื่อมอำนาจไป ตัวอย่างเช่น เมื่อเราประสงค์จะเอาสิ่งใด เราต้องพิจารณราเหตุสียก่อน เมื่อพิจารณาดูแล้วว่ามันไม่ผิดศีลธรรม เราก็สามารถเอาได้ แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วว่ามันผิดศีลธรรม เราก็ละเสียไม่เอา นี่แสดงว่าเราไม่ปรุงแต่งตามมัน ในความอยากได้หรือความโลภ และเราก็มีสติรู้เท่ามัน คือมีการพิจารณาในเหตุในผลเสียก่อน ถ้าเราประพฤติได้ในลักษณะนี้ เราก็จะได้ชื่อว่าเป็นคนดี กระทำแต่ในสิ่งที่ดี มีแต่บุญกุศล ถ้าพูดสั้น ๆ ก็หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีผลเท่านั้น คือถ้าเราทำเหตุดีก็จะได้รับผลดี แต่ถ้าเราทำเหตุชั่วก็จะได้รับผลชั่ว


    “แต่การจะทำเหตุที่ดีนัน้ มนุษย์เราทำกันยากนักยากหนา ที่ว่าทำยากเพราะอะไร ? คือมนุษย์บางเหล่าไม่รู้จักเหตุและผล จึงไม่รู้จักเลือกเฟ้นทำเหตุที่ดีกัน และอีกอย่างหนึ่งก็คือพวกเรานี้ไม่ค่อยกระทำเหตุที่ดีกัน แต่ผลดีของมันนัน้ชอบกันทุกคน”


    ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย คำว่าตายในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าร่างกายเราตายหมายถึงจิตใจของเราตาย คือตายจากมรรค ผล นิพพานต่างหาก ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความไม่ตาย คือไม่ประมาทต่อการทำความดี ได้แก่ ศีล สมาธิปัญญา มีโอกาสจะได้ไปสวรรค์ พรหมโลก หรือมรรคผลชั้นใดชั้นหนึ่ง ตลอดถึงพระนิพพานข้างหน้าแน่นอน ช้าหรือเร็วแล้วแต่บุญบารมีหรือความพากเพียรของตนอง


    “ความไม่ประมาท คือ เป็นผู้มีสติจดจ่ออยู่ที่ กาย และใจ ทุกอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่มีเผลอจากอิริยาบถทั้ง ๔ จึงจัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาทเข้าใจไหม (ท่านถามลูกศิษย์)” นี่คือเทศน์ครั้งสุดท้ายของท่ายนก่อนที่จะล้มป่วยลง


    คำว่าฟังเทศน์หมายความว่า เอาใจฟังให้ใจหนีจากตัว ใจผู้ใดก็ให้รักษาอยู่กับตัวอย่าให้ใจหนีจากตัว ใจผู้ใดก็ให้รักษาอยู่กับตัวให้รู้อยู่กับภาวนาหรือให้รู้อยู่เฉพาะใจ อย่าให้ร่างกายนั่งอยู่ที่นี่แต่ใจมันคิดไปที่อื่น ก็ชื่อว่าใจไม่ฟัง คำว่าใจฟังคือใจจดจ่อ


    สอนให้ละลายความชั่วประพฤติความดี ความชั่วก็ได้แก่บาปนั่นแหละ ควงามดีก็ได้แก่บุญกุศลนั่นแหละ แต่เกี่ยวเนื่องอยู่กับจิตใจของเรา ถ้าพูดให้สั้น ๆ เอาเฉพาะใจความโอวาทของพระพุทธเจ้า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ท่านก็ย่อลงมาเป็น ๓ ข้อด้วยกัน คือ 


๑.    พระพุทธเจ้าสอนให้ละกายทุจริตและประพฤติกายให้ทุจริตนี้เป็นข้อที่หนึ่ง
๒.    ให้ละวาจาทุจริต และให้ประพฤติวาจาให้สุจริต
๓.    ให้ละมโนทุจริต และให้ประพฤติใจให้สุจริต


จะพูดถึงบาป อกุศลกรรมบทหมายความว่า การทำบาปทั้งหลายก็รวมมาอยู่ที่อกุศลกรรมบท ๑๐ ประการนั่นแหละ คำว่าบุญกุศลก็รวมอยู่ที่กุศลกรรมบท ๑๐ ประการ ชื่อว่ากายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ถ้าพูดให้สั้นให้น้อยลงไปอีก กายกรรม ๓ และวจีกรม ๔ เป็นกิริยาการทำบาป ย่นลงมาทางใจ  คือ ใจโลภ ใจโกรธ ใจหลง มี ๓ อย่างเท่านี้แหละที่เป็นเหตุ ตกลงอกุศลกรรมบทก็หมายใจเท่านี้แหละเป็นต้นเหตุ ตกลง อกุศลกรรมบทก็หมายใจเท่านั้น หมายใจดวงเดียวคือใจ ก็หมายอันเดียวเรียกว่า เอกังจิตตัง ที่เรียกว่า จิต หัวใจ ก็เรียกว่าเป็นใจดวงเดียว เอกมโนเรียกว่าใจอันเดียว ตกลงผู้ที่เบื่อความทุกข์ เบื่อความโง่ เบื่อความเป็นบาป ก้มาปฏิบัติแก้ให้กายทุจริตเป็นกายสุจริต แก้วจีทุจริตให้เป็นวจีสุจริต แก้มโนทุจริตเป็นมโนสุจริต นี่เป็นวิธีปฏิบัติ ถ้าเราจะเทียบในทางโลกเหมือนกับพวกชาวไร่ชาวนาที่มีไร่มีนา แต่ก่อนมันก็เป็นป่าเป็นดงเมื่อถือสิทธิ์แล้วก็จึงสร้างจึงถากถาง ทำให้เป็นไร่เป็นสวนทำให้บริสุทธิ์ ทำนาก็ให้เป็นนาจริง ๆ ทำสวนก็ให้เป็นสวนจริง ๆ 


คนทุกข์คนจนในโลกนี้ไม่ใช่ทุกข์เพราะเสือกิน ไม่ใช่ทุกข์เพาะงูร้ายกัด ไม่ใช่ทุกข์เพาะช้างฆ่า แต่ทุกข์เพราความโลภความกรธความหลงของตน จะทุกข์เพราะสิ่งใด ๆ ก็ตาม ตัวความโลภ ความโกรธ ความหลงนี่แหละเป็นผู้ฆ่า


ความโลภ ความโกรธ ความหลง สามสิ่งนี้ร้ายกาจกว่าสิ่งใดทั้งหมด ร้ายกว่าผีร้าย ร้ายกว่าเสือร้าย ร้ายกว่างูร้าย ไม่มีสิ่งไหนจะร้ายกว่าตัวความโลภ ความโกรธ ความหลงสามประการนี้ มันสามารถทำให้ผู้รู้แจ้งเป็นคนมืดก็ได้ ฤทธิ์ของมันอยู่เหนือทุกคนในโลกนี้ ยกเว้นเสียแต่พระอรหันต์

หลวงปู่คำดี  ปภาโส.jpg
bottom of page