top of page

อาจารย์พวง สุขินทริโย

วัดศรีธรรมมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
อาจารย์พวง สุขินทริโย.jpg

ประวัติ

ประวัติของพระเทพสังวรญาณ หรือ หลวงตาพวง สุขิทริโย เป็นชาว จังหวัดยโสธร  นามเดิมว่า พวง ลุล่วง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๖ พ.ค. ๒๔๗๐ ณ บ้านศรฐาน ตำบลกระจาย อ.ลำเภอมพุก จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันคือ ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่สำนักสงฆ์บ้านหองโดก ตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณาคม จังหวัดสกลนคร ตรงกับวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับฉายาว่า สุขินทริโย แปลว่า ผู้มีความสุขเป็นใหญ่


หลังจากอุปสมบท หลวงตาพวง ได้เข้าศึกษาอบรมธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ และฝากตัวเป็นศิษย์และขอนิสัยจากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บ้านธาตุเวง ต.พังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร


พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูใบฎีกาพวง สุขินทริโย และเป็นเจ้าอาวาศวัดศรฐานใน จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ ๑๐ ปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาศวัดศรธรรมาราม ตำบลใมอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร


ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับแต่งตั้งเป็น พระราชคณะชั้นราชที่ราชทินนาม พระราชธรรมสุธี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ราชทินนาม พระเทพสังวรญาณ และได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐ ธรรมยุต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาศวันศรีธรรมาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร


เมื่อเวลา ๑๐.๕๔ น. ของวันที่  ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒ พระเทพสังวรญาณ หรือหลวงตาพวง สุขินทริโย รองเจ้าคณะภาค ๑๐(ธ) ได้ละสังขารแล้ว อายุ ๘๒ ปี พรรษา ๕๗ พรรษา ที่โรงพยาบาลยโสธร หลังจากอาพาธด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ และรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบายศิริราช ก่อนจะมาพักรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร จนมรณภาพ    


คณะแพทย์โรงพยาบาลยโสธร ได้ให้การดูแลอาการของหลวงตาพวง อย่างเต็มขีดความสามารถ เนื่องจากหลวงตาพวง อาพาธค่อนข้างหนัก รู้สึกตัวเป็นบางครั้ง มีความดันโลหิตตกเป็นช่วงๆ คณะแพทย์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและยาลดความดันตลอดเวลา จวบจนเวลาประมาณ ๓.๐๐ น.  อาการของหลวงตาพวง แสดงอาการหนักขึ้นมาก คณะแพทย์ได้พยายามรักษาและเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด จวบจนเวลา ๑๐.๕๔ น หลวงตาพวง ก็ได้ละสังขารอย่างสงบ สร้างความโศกเศร้าให้กับพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ที่ต้องสูญเสียพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกหนึ่งรูปไปอย่างไม่คาดคิด  หลังจากทราบข่าวศิษยานุศิษย์และประชาชนจำนวนนับพันต่างทยอยกันมากราบสังขาร หลวงตาพวงเป็นครั้งสุดท้ายแน่นโรงพยาบาลยโสธร

โอวาทธรรม  

จากหนังสือ “ธรรมะหลวงตาพวง”ที่แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ แม้จะผ่านไปหลายเดือนแล้วแต่พึ่งได้อ่านในวันถวายทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยที่ผ่านมา บังเอิญเห็นหนังสือวางบนโต๊ะเรียนจึงถือวิสาสะหยิบอ่านเพื่อรอเวลาตามกำหนดการ กาลเวลาไม่อาจกีดกั้นพรมแดนแห่งความรู้ได้ อ่านเมื่อใดเมื่อนั้นก็เป็นสิ่งใหม่ จากหนังสือเล่มนั้นมีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจภายใต้หัวข้อว่า "กุญแจสี่ดอกเพื่อความสำเร็จ" สรุปความได้ว่าการที่คนเราจะทำให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องมีกุญแจแห่งความสำเร็จสี่ดอกคือ “หวังผล ฝึกฝน สนใจ ใช้หัว”


๑. หวังผล หมายถึงการทำงานทุกอย่างต้องมีเป้าหมายว่าเป้าประสงค์สุดท้ายคืออะไรเช่นชาวไร่ปลูกแตงโม สิ่งที่ชาวไร่ต้องการคือผลแตงโม ที่สามารถรับประทานได้และขายได้ด้วยนั่นคือผล การทำงานทุกอย่างจึงต้องหวังผล การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกันต้องหวังผลของการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าแสดงผลของการบรรพชาอุปสมบทไว้ในสามัญญผลสูตรว่าบวชแล้วจะได้ผลเป็นอย่างไรเป็นต้น

 

 ๒. ฝึกฝน  การที่จะได้ผลตามวัตถุประสงค์ต้องมีความอดทนฝึกฝนให้มากจนมีความเชี่ยวชาญชำนาญในสิ่งที่ทำ การปลูกแตงโมก็ต้องหมั่นดูแลรักษา ค่อยๆรอจนได้ที่จึงจะเห็นผล อย่าให้สุกก่อนห่ามอย่างนี้ก็ได้ผลที่ไม่อร่อย บางคนปฏิบัติเอาเป็นเอาตายได้เพียงไม่กี่เดือน เมื่อไม่ได้ผลตามที่ตั้งไว้ก็เลยท้อแท้สิ้นหวังเลิกฝึกฝนอบรมไปเลย ธรรมะนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไปคือทำไปเรื่อย ๆ จนถึงวันหนึ่งที่มีความพร้อมผลก็จะเกิดขึ้นมาเอง

 

๓. สนใจ คือจะทำงานอะไรต้องตั้งใจทำงานนั้นอย่างจริงจัง เอาใสใส่ ไม้ท้อแท้ หนักเอาเบาสู้ เช่นการปลูกแตงโมต้องคอยดูแลใส่ปุ๋ย กำจัดแมลง กำจัดวัชพืชที่จะมาแย่งอาหาร ธรรมะก็เหมือนกันจะทำอะไร ศึกษาอะไรก็ต้องมีความสนใจเป็นพื้นฐานก่อน บางคนชอบศึกษาปฏิบัติตามธรรมะตามแนวแห่งพระสุตตันปิฎก บางคนชอบอภิธรรม บางคนชอบคำสอนของอาจารย์คนนั้นคนนี้ ถ้าสนใจทำจริงศึกษาจากไหนก็ได้ทั้งนั้นที่สำคัญต้องเลือกให้เหมาะกับความสนใจของเราด้วย เพราะจริตหรือพื้นฐานทางจิตของคนไม่เหมือนกันชอบกันคนละอย่าง ซึ่งเป็นการดีเพราะทำให้โลกนี้มีอาชีพให้คนเลือกทำแตกต่างกัน จะได้ไม่แย่งกันทำมาหากินอย่างเดียวกันมากจนเกินไป          

 

๔. ใช้หัว ไม่ได้หมายถึงการใช้หัวหรือศีรษะเช่นการโหม่งฟุตบอลนักฟุตบอลบางคนหัวดีคือถนัดลูกโหม่ง แต่การใช้หัวในที่นี้หมายถึงการใช้สติปัญญา ใช้สมอง ใช้ความรู้ความสามารถในการทำงาน มนุษย์แม้จะมีอวัยวะเท่ากัน แต่มีความคิดและสติปัญญาไม่เท่ากัน ดังที่หลวงตาพวงได้ยกเรื่อง “เห็ดดอกเดียว” เป็นอุทาหรณ์ว่า “ย่ากับสะใภ้ถือตะกร้าไปเก็บเห็ดในป่า ข้างทางเห็นมีเห็ดดอกเดียว สะใภ้บอกว่าเห็ดดอกเดียวไม่อยากเก็บไว้ไปเก็บเอาข้างหน้า ย่าไม่ประมาท แม้เห็ดดอกเดียวก็เก็บเรื่อยไป ปรากฏว่าวันนั้น ย่าเก็บเห็ดได้เต็มตะกร้า ส่วนสะใภ้ได้กินอิ่มก็เพราะเห็ดดอกเดียวของย่านั่นเอง นี่แหละคนไม่ประมาท รู้จักเก็บ รู้จักออมไม่ละเลย หรือดูแคลนของเล็กน้อย” ย่ามีปัญญาเพราะได้มาจากประสบการณ์จึงค่อยๆเก็บเห็ดไปทีดอก ส่วนสะใภ้คงเป็นคนรุ่นใหม่มีประสบการณ์น้อย จึงมองไปข้างหน้าอย่างเดียวคิดว่าน่าจะมีเห็ดอยู่ข้างหน้ามากกว่าที่เห็น เลยทำให้ลืมมองย้อนหลัง


 ในการทำงานแต่ละครั้งหากประกอบด้วยคุณสมบัติทั้งสี่ประการนี้ ก็จะเป็นเหมือนมีกุญแจไขไปสู่ความสำเร็จได้ เมื่อมีกุญแจอยู่ในมือย่อมสามารถเปิดประตูแห่งความสำเร็จได้โดยง่าย ครั้งหนึ่งลูกศิษย์ได้นวดเฟ้นหลวงตาพวงและถือโอกาสกราบเรียนถามหลวงตาเรื่องการดับทุกข์ หลวงตาตอบว่า “ถ้าหิวข้าวให้ทานข้าว ถ้าปวดหัวให้หายามาบรรเทา ถ้าเมื่อยขาก็ให้นวดนี้แหละ” ง่าย ๆ แต่ชัดเจน 

bottom of page