top of page

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

(พระครูวิเวกพุทธกิจ)

วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติ

    พระอาจารย์เสาร์  ฉายา กนฺตสีโล  เกิด ณ วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ปีระกา วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองซาง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 


    เนื่องจากท่านเป็น พระวิปัสสนาธุระ รุ่นแรกก่อนที่จะมีการบันทึกจดจำประวัติของท่านได้โดยละเอียดถี่ถ้วน จึงทำให้ทราบแต่เพียงชีวประวัติย่อเท่านั้น


    ภายหลังที่หลวงปู่เสาร์ ท่านสละเพศฆราวาสแล้ว ท่านอุปสมบทอยู่ที่วัดใต้จังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นพระธรรมยุต ที่วัดศรีทอง มีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์


    ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยลงไปในสมาธิวิปัสสนา และพอใจแนะนำสั่งสอนผู้อื่นในทางนั้นด้วย จึงเป็นผู้ใส่ใจในธุดงค์วัตร หนักในพระธรรมวินัย ชอบวิเวกและไม่ติดถิ่นที่อยู่ และท่านได้รับความสงบใจในการปฏิบัติอย่างมาก เพราะการปฏิบัติสมาธิเป็นชื่อแห่งความเพียรเป็นข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบซึ่งไม่มีข้อปฏิบัติอื่นดียิ่งไปกว่า


หลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล มีความรู้ความเข้าใจขึ้นโดยลำดับแห่งองค์ภาวนา ต่อมาท่านมีความปรารภขึ้นว่า การที่ท่านปฏิบัติภาวนาอยู่นี้ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจแต่ทางที่ดีควรออกไปอยู่ป่าดงหาสถานที่สงบจากผู้คน จิตใจคงจะสงบลงกว่าเป็นแน่แท้ ดังนั้นท่านได้ออกธุดงค์มุ่งสู่ป่าทันทีในวันรุ่งขึ้น ความปรารถนาของท่านก็เพื่อพัฒนาและพิจารณาสมาธิทำถ้าแม้เป็นไปจริงดังคำตั้งใจแล้ว เมื่อกลับสู่วัดท่านจะนำความรู้ที่เกิดจากจิตใจเหล่านั้นมาเผยแพร่ฝึกสอนศิษย์ที่หวังซึ่งความพ้นทุกข์ต่อไป


    นอกจากหลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล จะเป็นพระผู้ปฏิบัติดีแล้ว ท่านยังมีความเคร่งครัดทางด้านพระวินัยอย่างมากลูกศิษย์ทุกคนสมัยนั้นท่านจะถือเอาวัตรปฏิบัติวิปัสสนาเป็นวิชาเอก หมายถึงว่า เมื่อท่านได้อบรมแล้วแสดงพระสัทธรรมให้เป็นที่เข้าใจแล้วท่านจะส่งเสริมลูกศิษย์ทุกรูปให้ถือข้อธุดงควัตร แยกออกจากหมู่มุ่งสู่เราป่าดง มุ่งสู่ความแจ่มแจ้งในธรรมที่องค์พระบรมศาสดาทรงรับรองผล


    หลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล พระบุพพาจารย์แห่งยุคได้อำลาละสังขารไปด้วยอาการสงบ ท่านได้อบรมสั่งสอนศิษย์ต่างก็ยอมรับว่าหลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล ได้ปฏิบัติกิจเสร็จสิ้นที่วัดมหาอำมาตยาราม นครจำปาศักดิ์ คืนวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะเมียวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ สิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี ๖๒ พรรษา

โอวาทธรรม  

    จากหนังสือธรรมวิสัชนา เรื่องแนวปฏิบัติของท่านพระอาจารย์เสาร์  กนฺตสีโล ดังนี้ โดยหลักการที่ท่านอาจารย์เสาร์ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหามานั้น ยึดหลักการบริกรรมภาวนาพุทโธโทรและอานาปานสติเป็นหลักปฏิบัติ


    การบริกรรมภาวนาให้จิตอยู่ ณ จุดเดียวคือพุทโธซึ่งพุทโธแปลว่า ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิตเมื่อจิตมาจดจ้องอยู่ที่คำว่าพุทโธให้พิจารณาตามองค์ฌาน ๕  คือ การนึกถึงพุทโธ เรียกว่า วิตก จิตอยู่กับพุทโธไม่พรากจากไป เรียกว่า วิจารณ์
หลังจากนี้ปีติและความสุขก็เกิดขึ้น เมื่อปีติและความสุขเกิดขึ้นแล้วจิตของผู้ภาวนาย่อมดำเนินสู่ความสงบเข้าไปสู่อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ รักสนะที่เจ็ดเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ภาวะจิตเป็นภาวะสงบนิ่ง สว่าง ไม่มีกิริยาอาการแสดงความรู้ ในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในสมถะ


ถ้าจะเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปปนาจิต
ถ้าเรียกโดยสมาธิเรียกว่า อัปปนาสมาธิ
ถ้าเรียกโดยฌานก็เรียกว่า อัปปนาฌาน
บางท่านนำไปเทียบกับฌานขั้นที่ ๕


    จิตในขั้นนี้เรียกว่าจิตอยู่ในอัปปนาจิต อัปปนาสมาธิ อัปปนาฌาน จิตย่อมไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้นนอกจากมีสภาวะรู้อยู่อย่างเดียวเท่านั้น

หลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล(พระครูวิเวกพุทธกิ
bottom of page