top of page

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

(พระราชวุฒาจารย์)

วัดบรูพาราราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ประวัติ

หลวงปู่ถือกำเนิด  ณ  บ้านปราสาท  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์  เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๓๐ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำเดือน ๑๑ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะนั้นพระยาสุรินทร์ (ม่วง) ยังเป็นเจ้าเมืองอยู่ แต่ไปช่วยราชการอยู่  จังหวัดอุบลราชธานี  เนื่องจากเจ้าเมืองอุบลฯและกรรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่  ต้องไปราชการทัพเพื่อปราบฮ่อ

บิดาของท่านชื่อ  นายแดง  มารดาชื่อ  นางเงิน  นามสกุล ดีมาก แต่เหตุที่ท่านนามสกุลว่า"เกษมสินธุ์" นั้น ท่านเล่าว่า เมื่อท่านไปพำนัก ประจำอยู่ที่วัดสุทัศน์หน้ารามจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเวลา มีหลาน ชายคนหนึ่งชื่อพร้อมไปอยู่ด้วยท่านจึงตั้งนามสกุลให้ว่าเกษมสินธุ์ ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เลยใช้นามสกุลว่า "เกษมสินธุ์" ไปด้วย

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน คือ

คนแรก เป็นหญิง ชื่อ กลึ้ง

คนที่ ๒ เป็นชาย ชื่อ ดุลย์ (คือ ตัวท่าน)

คนที่ ๓ เป็นชาย ชื่อ แดน

คนที่ ๔ เป็นหญิง ชื่อ รัตน์

คนที่ ๕ เป็นหญิง ชื่อ ทอง

พี่น้องของท่านต่างพากันดำรงชีวิตไปตามอัตภาพตราบเฒ่าวัยชรา  และได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีอายุถึง ๗๐ปีทั้งหมดหลวงปู่ผู้เดียวที่ครองอัตภาพมาได้ยาวนานถึง ๙๖ ปี

ชีวิตของหลวงปู่เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้น  ก็ถูกกำหนดให้เป็นกฎเกณฑ์ของสังคมสมัยนั้นแม้ท่านจะเป็นลูกคนที่สอง  แต่ก็เป็นบุตรชายคนโต  ดังนั้นท่านจึงมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดา โดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน  งานในบ้าน เช่น  ตักน้ำ  ตำข้าว  หุงหาอาหารเลี้ยงดูน้อง ๆ ซึ่งมีหลายคน  งานนอกบ้านเช่นช่วยแบ่งเบาภาระของบิดาในการดูแลบำรุงเรือกสวนไร่นา และเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย  เป็นต้น

สังขารขันธ์ของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้ดับลงตามสภาวธรรม เมื่อ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ แม้ว่าหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้สละทั้งร่างกายไปแล้ว  แต่เมตตาธรรมที่ท่านได้ ประสาทไว้แก่สานุศิษย์ทั้งหลาย  ยังเหลืออยู่  คุณธรรมดังกล่าวยังคงประทับอยู่ในจิตใจของทุก ๆ คนไม่ลืมเลือน

โอวาทธรรม  

สำหรับหลวงปู่นั้น  ท่านเล่าว่าได้ตริตรอง พิจารณาตามหัวข้อกมมัฏฐานว่า "สพเพ สงขารา อนิจจา สพเพ สญญา อนตตา" ที่ท่านพระอาจารย์มั่นให้มาในเวลาต่อมา  ก็เกิดความสว่างไสวในใจชัดว่า  เมื่อสังขารขันธ์ จับได้แล้ว  ความเป็นตัวตนจากมีไม่ได้  เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่  ครั้นความปรุงแต่งขาดไป ความทุกข์จะเกิดขึ้นอย่างไร  และจับใจความอริยสัจจแห่งจิตได้ว่า

๑. จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้นเป็นสมุทัย

๒. ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหวเป็นทุกข์

๓. จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค

๔. ผลเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ แล้วท่านเล่าว่าเมื่อทำความเข้าใจในอริยสัจ ทั้ง ๔ได้ดังนี้แล้ว  ก็ได้พิจารณาทำความ

 

เข้าใจใน ปฏิจจสมุปบาท ได้ตลอดทั้งสาย

คติธรรม  ที่ท่านสอนอยู่เสมอ คือ

"อย่าส่งจิตออกนอก"

"จงหยุดคิดให้ได้"

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล(พระราชวุฒาจารย์).jpg
bottom of page